ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (ลดหวาน มัน เค็ม) พื้นที่เทศบาลตำบลเวียงคุก อ.เมือง จ.หนองคาย
Changing Food Consumption Behavior Among High Risk Groups of Non Communicable Diseases (reducing the sugary, fatty and salty foods) at Wiengkook Subdistrict Municipality, Mueng District, Nongkhai Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ดร.มธุรส ชลามาตย์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ที่มีผลต่อ 1.2.1 พฤติกรรมการบริโภค 1.2.2 ภาวะโภชนาการ 1.2.3 ภาวะสุขภาพ
คำสำคัญ
-
บทคัดย่อย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เสี่ยงต่อการ เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มีผลต่อ ภาวะโภชนาการ และ ภาวะสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้สูงอายุในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ เทศบาลตำบลเวียงคุก อ.เมือง จังหวัดหนองคาย อายุ 60 ปี ขึ้นไปที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกการตรวจภาวะโภชนาการ และการตรวจร่างกาย แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการบริโภคอาหาร สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t- test หรือ Wilcoxson sign rank test ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังเข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกาบริโภคที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 8 สัปดาห์ กลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ 1. พฤติกรรมการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม ลดลง การบริโภคอาหารกลุ่มผัก และ ผลไม้รส ไม่หวานจัดเพิ่มขึ้น และมีการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น 2. น้ำหนักลดลง ดัชนีมวลกายลดลงและเส้นรอบเอวลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) 3. ระดับความดันโลหิต Systolic และ Diastolic ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. เนื้อหา

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ