ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง กระบวนการขับเคลื่อนเพื่อเพิ่มจำนวนเกษตรกรในการทำเกษตรอินทรีย์ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนแม่มอก ตำบลแม่มอก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง
Process to increase number of farmers in organic farming by community participation of Mae Mok community in Thoen district, Lampang province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุวรรณี จันทร์ตา
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการทำเกษตรอินทรีย์ 2. เพื่อศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนการเพิ่มจำนวนเกษตรกรในการทำเกษตรอินทรีย์ ตำบลแม่มอก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง 3. เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ตำบลแม่มอก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ
-
บทคัดย่อย
งานวิจัยเรื่องกระบวนการขับเคลื่อนเพื่อเพิ่มจำนวนเกษตรกรในการทำเกษตรอินทรีย์ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนแม่มอก ตำบลแม่มอก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการทำเกษตรอินทรีย์ ศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนการเพิ่มจำนวนเกษตรกรในการทำเกษตรอินทรีย์ และเพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการทำเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ 1. ด้านสุขภาพจากการบริการตรวจสารพิษตกค้างในเลือดให้กับประชาชนของเทศบาลตำบลแม่มอกพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่พบสารพิษตกค้างในเลือดเกินมาตรฐาน แต่หลังจากเข้าร่วมกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ประมาณ 3 – 10 ปี พบว่า ปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมาทุเลาลงไป และการตรวจสารพิษตกค้างในเลือดซ้ำพบว่าไม่มีสารพิษตกค้างในเลือด 2. ด้านเศรษฐกิจ การเข้าร่วมกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ส่งผลให้ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในครัวเรือนลดลงอย่างมาก ได้แก่ ค่าสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ค่าปุ๋ยเคมี นอกจากนี้ยังมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อินทรีย์ต่าง ๆ 3. ด้านนโยบาย ด้วยเทศบาลตำบลแม่มอกมีนโยบายชัดเจนที่จะให้แม่มอกเป็นเมืองแห่งอาหารปลอดภัย ดังนั้น จึงได้ดำเนินนโยบายด้านการผลักดันการตั้งกลุ่มเกษตรกรเพื่อเป็นกลุ่มเกษตรอินทรีย์ โดยพยายามติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ มาสร้างความรู้ ความเข้าใจตลอดจนให้ความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ 4. ด้านอื่น ๆ กลุ่มเกษตรอินทรีย์มีความภาคภูมิใจในการเป็นผู้ผลิตอาหารที่ดี สามารถเป็นกลุ่มตัวอย่างให้ชุมชนอื่น เข้ามาศึกษาดูงาน และแนวทางการขับเคลื่อนการเพิ่มจำนวนเกษตรกรในการทำเกษตรอินทรีย์ มีแนวทางดังนี้ 1. แสวงหาบุคคลต้นแบบที่เป็นแบบอย่างเกษตรกรผู้ทำเกษตรอินทรีย์ มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน 2. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ่ายทอดประสบการณ์ เพื่อสร้างความมั่นใจในการตัดสินใจเข้าร่วมกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ตลอดจนถึงให้ความรู้ เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเติมเต็มประสบการณ์ให้มากขึ้น 3. ผู้รับผิดชอบในการดำเนินนโยบายในการผลักดันเกษตรอินทรีย์ในทุก ๆ ระดับ ต้องแสวงหาหน่วยงานที่จะสนับสนุนการผลิต ทั้งสนับสนุนด้านความรู้ เทคโนโลยีตลอดจนถึงแหล่งรับซื้อผลผลิต และผลักดันให้แปลงผลิตพืชอินทรีย์และผลผลิตเกษตรอินทรีย์ได้รับการับรองมาตรฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ การวิชาการเกษตรกรมการข้าว มูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย เป็นต้น 4. สร้างเกษตรกรต้นแบบให้เป็นวิทยากรประจำชุมชน และสร้างศูนย์การเรียนรู้ชุมชนด้านเกษตรอินทรีย์ตามความถนัดและประสบการณ์ของเกษตรกรต้นแบบ อาทิ การผลิตปุ๋ยน้ำธรรมชาติ การทำก้อนเบญจคุณ การทำปุ๋ยไส้เดือน และ 5.จัดทำธรรมนูญชุมชนด้านเกษตรอินทรีย์ เพื่อเป็นพันธะสัญญาในการร่วมมือกันผลิตผลิตภัณฑ์อินทรีย์และจากการดำเนินตามแนวทางดังกล่าวพบว่ามีจำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นจาก 32 คน เป็น 298 คน
เอกสารงานวิจัย
  1. หน้าปก
  2. บทคัดย่อ
  3. Abstract
  4. คำนำ
  5. สารบัญ
  6. บทที่ 1
  7. บทที่ 2
  8. บทที่ 3
  9. บทที่ 4
  10. บทที่ 5
  11. บรรณานุกรม
  12. ภาคผนวก

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ