ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การสร้างมาตรการร่วมของหมู่บ้านเพื่อพัฒนาสู่หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างมีส่วนร่วมของ ตาบลแม่ลาน อาเภอลี้ จังหวัดลาพูน
Creating policy participation of health behavior in village for reduce cancer, hypertension and cardiovascular disease in Maelan, Li District, Lamphun Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ ดร.ณัฐกฤษฎ์ ธรรมกวินวงศ์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมลดโรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน 2. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการสร้างมาตรการร่วมของหมู่บ้านเพื่อพัฒนาสู่หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ตาบลแม่ลาน อาเภอลี้ จังหวัดลาพูน 3. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน 4. เพื่อสร้างมาตรการร่วมของหมู่บ้านเพื่อพัฒนาสู่หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดำพูน
คำสำคัญ
พฤติกรรมสุขภาพ, มาตรการร่วม, การมีส่วนร่วม
บทคัดย่อย
การวิจัยเรื่อง การสร้างมาตรการร่วมของหมู่บ้าน เพื่อพัฒนาสู่หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ของตำบลแม่ลาน อาเภอลี้ จังหวัดลาพูน โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการสร้างมาตรการร่วมของหมู่บ้านเพื่อพัฒนาสู่หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด 3)เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด 4)เพื่อสร้างมาตรการร่วมของหมู่บ้านเพื่อพัฒนาสู่หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) สร้างมาตรการ ด้วยกระบวนการ A-I-C (Appreciation- Influence-Control) ประชากรเป็นประชาชนตัวแทนจาก 7 หมู่บ้านของตาบลแม่ลานจานวน60 คน ใช้แบบสอบถาม ความรู้ การมีส่วนร่วม และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าที (Pair t-test) ผลการวิจัย พบว่า ความรู้ด้านสุขภาพ หลังการได้รับความรู้เรื่อง การบริโภคอาหาร การออกกาลังกาย การสูบบุหรี่ ความรู้เกี่ยวกับสุรา และการจัดการความเครียด มีความรู้อยู่ในระดับดี ร้อยละ 84.59 เมื่อเปรียบเทียบ ความรู้ก่อนและหลังการได้รับความรู้ มีความแตกต่างกันมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 การมีส่วนร่วมดาเนินงานการสร้างมาตรการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด พบว่าในภาพรวม การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.72) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมตัดสินใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.79) ผลการเปรียบเทียบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ก่อนและหลังจากมีส่วนร่วมสร้างมาตรการฯ มีความแตกต่างกันมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดีขึ้น หลังจากมีส่วนร่วมสร้างมาตรการฯ การสร้างมาตรการร่วมของหมู่บ้านเพื่อพัฒนาสู่หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ตาบลแม่ลาน ประกอบด้วย 5 มาตรการ ดังนี้ 1) มาตรการด้านอาหาร เน้นจัดเลี้ยงอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ ในงานบุญตามประเพณีและงานขาวดาของหมู่บ้าน 2) มาตรการด้านการออกกาลังกาย เน้นจัดประเภทกีฬาให้เหมาะสมกับชุมชน และกาหนดวันออกกาลังกายของชุมชน สัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละอย่างน้อย 30นาทีขึ้นไป 3) มาตรการด้านสุรา เน้นงดเลี้ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดในงานบุญตามประเพณีและงานขาวดาของหมู่บ้าน 4) มาตรการด้านบุหรี่ เน้นให้ เป็นบ้านปลอดบุหรี่ สื่อสารและชักชวนให้ประชาชน เลิกสูบบุหรี่ รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมาย 5) มาตรการด้านความเครียด เน้นกิจกรรมคลายเครียด และการให้คาปรึกษา การให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ
เอกสารงานวิจัย
  1. บทความ
  2. บทคัดย่อ
  3. บทที่ 1
  4. บทที่ 2
  5. บทที่ 3
  6. บทที่ 4

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ