ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง แนวทางการพัฒนากระบวนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุขององค์การบริหาร ส่วนตำบล นาโป่ง อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง
Guidelines for the development of the elderly health care process of Na Pong Subdistrict Administrative Organization, Thoen District, Lampang Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนกร สิริสุคันธา
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหาร ส่วนตำบลนาโป่ง 2. เพื่อหาแนวทางการพัฒนากระบวนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาโป่ง
คำสำคัญ
การมีส่วนร่วม ,ผู้สูงอายุ ,โรงเรียนผู้สูงอายุ
บทคัดย่อย
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และเพื่อหาแนวทางการพัฒนากระบวนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาโป่ง อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการหรือสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน และญาติของผู้สูงอายุ จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ข้อมูลที่ได้นำมาจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหาสาระและหาความถี่ประกอบการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนากระบวนการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลนาโป่ง ด้านการตัดสินใจอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ ทำให้ไมค่อยมีเวลาเข้าร่วมประชาคมในการพัฒนาท้องถิ่น ด้านการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้สูงอายุพร้อมให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ ด้านการรับประโยชน์จากกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้วนั้น ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เห็นว่าได้มีประโยชน์ต่อตนเองในระดับมาก ส่วนด้านการประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากจะมีหน่วยงานภาครัฐทำหน้าที่ประเมินผลสรุป ด้านแนวทางการพัฒนากระบวนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนากระบวนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ทั้งในระดับหมู่บ้านและระดับตำบล ควรวางแผนพัฒนาร่วมกัน ผลัดเปลี่ยนกันเป็นแม่งานเพื่อกำหนดกิจกรรมที่ครบถ้วนและแก้ปัญหาเรื่องงบประมาณ ใช้โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นเครื่องมือในการเปิดพื้นที่ให้ผู้สูงอายุจัดกิจกรรมและต่อยอดองค์ความรู้ โดยการนำภูมิปัญญามาใช้บนฐานวัฒนธรรมและความใฝ่รู้ของผู้สูงอายุ จะเป็นแนวทางการส่งเสริมการจัดการความรู้ของชุมชนในการมีการนำพลังผู้สูงอายุมาใช้ในการพัฒนาชุมชน
เอกสารงานวิจัย
  1. หน้าปก
  2. สารบัญ
  3. บทที่ 1
  4. บทที่ 2
  5. บทที่ 3
  6. บทที่ 4
  7. บทที่ 5
  8. บทความ
  9. บรรณานุกรม
  10. บทคัดย่อ
  11. ภาคผนวก
  12. กิตติกรรมประกาศ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ