ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง ผลของการสื่อสารสุขภาพและปัจจัยเอื้อด้านเมนูสุขภาพต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค ในเขตตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
Effect of health communication improvement and healthy menu as enabling factor to consumer behavior in Tambon Mae Rang, Pa Sang District, Lamphun Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุพา อภิโกมลกร
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาผลของการสื่อสารสุขภาพต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มในผู้บริโภคที่ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน 2. เพื่อศึกษาผลของการเพิ่มปัจจัยเอื้อด้านเมนูสุขภาพ ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มในผู้บริโภคที่ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ
การสื่อสารสุขภาพ,การสื่อสารสุขภาพแนวใหม่ ,ปัจจัยเอื้อ
บทคัดย่อย
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสื่อสารสุขภาพต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่ม และผลของการเพิ่มปัจจัยเอื้อด้านเมนูสุขภาพ ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มในผู้บริโภคที่ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ประชากรที่ศึกษา มี 2 กลุ่ม คือ ผู้ประกอบการร้านกาแฟ และแม่บ้านที่นิยมบริโภคกาแฟหรือเครื่องดื่มอื่นที่มีรสหวาน กลุ่มตัวอย่าง เป็นร้านเครื่องดื่ม 7 ร้าน แม่บ้าน จำนวน 67 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม เครื่องมือวิจัย เป็นแบบสำรวจ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ หรือ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการสรุปประเด็น ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติอนุมาน ได้แก่ t-test ผลการวิจัย พบว่า การสื่อสารสุขภาพกับผู้บริโภคโดยการใช้สื่อผสมและการสื่อสารสองทางสามารถทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยความรู้/ความเห็นของผู้บริโภคเกี่ยวกับส่วนประกอบเครื่องดื่มรสหวาน มัน ต่อสุขภาพ เพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย 9.61 คะแนน เป็น 24.79 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.0001 และมีผู้สั่งเครื่องดื่มสุขภาพ เฉลี่ยวันละ 29.76 แก้ว จากร้านที่เข้าร่วมโครงการวิจัยโดยติดป้ายเชิญชวนผู้บริโภคดื่มเครื่องดื่มสุขภาพ (ลดน้ำตาล) และจัดให้มีเมนูสุขภาพเพื่อให้ผู้บริโภคเลือก แสดงให้เห็นว่าการมีปัจจัยเอื้อ (Enabling factors) ตามแนวคิด PRECEDE model สามารถส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการลดน้ำตาลในเครื่องดื่มได้
เอกสารงานวิจัย
  1. หน้าปก
  2. คำนำ บทคัดย่อ สารบัญ
  3. บทที่ 1-5
  4. บทความ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ