ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การจัดการขยะชุมชนของชุมชนสระแก้วและชุมชนบ้านล่างเทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างยั่งยืน
English

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ดร.จารุโส สุดคีรี
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1) ศึกษารูปแบบการจัดการขยะของชุมชนสระแก้งแลชุมชนบ้านล่าง 2) เพื่อพัฒนนาแนวทางในการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนสระแก้วและชุมชนบ้านล่าง
คำสำคัญ
ประชาชน ,ขยะมูลฝอย,การจัดการขยะมูลฝอย,การมีส่วนร่วมของชุมชน,พฤติกรรม,พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย,การลดการเกิดขยะมูลฝอย,การคดแยกขยะ
บทคัดย่อย
บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องการจัดการขยะชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนสระแก้วและชุมชนบ้านล่าง เทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศึกษารูปแบบการจัดการขยะของชุมชนสระแก้วและชุมชนบ้านล่าง และพัฒนาแนวทางในการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนสระแก้วและชุมชนบ้านล่าง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชนสระแก้วและชุมชนบ้านล่าง จำนวน 20 คนจากแต่ละครัวเรือน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการขยะมูลฝอยจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ใช้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม การสังเกต และการประชุมเชิงปฏิบัติการ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาสถานการณ์ขยะในพื้นที่จากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่าสถานการณ์ปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่มีประเด็นหลักที่สำคัญคือ ขาดพื้นที่ในการกำจัดขยะชุมชน เนื่องจากลักษณะชุมชนเป็นชุมชนที่มีบ้านอยู่ติดกัน ไม่มีพื้นที่ว่างเปล่าในการกำจัดขยะด้วยวิธีการฝั่งกลบหรือเผา ทำให้ขยะเกือบทั้งหมดถูกนำไปทิ้งในถึงที่ทางเทศบาลเมืองปากพนังจัดไว้บริการ ในขณะที่ยังมีอีกหลายครัวเรือนที่ทิ้งขยะลงใต้ถุนบ้านตัวเอง และเมื่อถึงฤดูฝนหรือในช่วงที่เกิดน้ำขึ้นสูงๆ ขยะดังกล่าวก็จะลอยออกจากบ้านเรือนไปสร้างผลกระทบให้แก่พื้นที่อื่นๆ การศึกษาเกี่ยวกับความรู้และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยจากกลุ่มตัวอย่างโดยผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 46 คน เพศหญิง ร้อยละ 78.26 เพศชาย ร้อยละ 21.74 มีอายุอยู่ในช่วง 30 – 60 ปีมากที่สุด ส่วนมากมีวุฒิการศึกษาในระดับประถมศึกษา ผลการศึกษาที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ ความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอย พบว่าคนในชุมชนส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องการจัดการขยะประเภทต่างๆ ทั้งเรื่องนิยามของคำศัพท์ เรื่องการจัดการขยะประเภทต่างๆ ผลกระทบที่เกิดจากการจัดการกับขยะไม่ถูกวิธี พฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอย ในด้านการลดปริมาณขยะมูลฝอย การนำขยะมูลฝอย เศษวัสดุมาใช้ใหม่ การนำขยะมูลฝอย วัสดุอุปกรณ์ที่ชำรุดเสียหายมาซ่อมแซม การนำขยะมูลฝอยเศษวัสดุหมุนเวียนกลับมาใช้หรือแปรรูป และ ด้านหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่ทำลายยาก พบว่าพฤติกรรมที่กระทำเป็นบางครั้ง มีสูงกว่าการกระทำทุกครั้ง ในเกือบทุกด้าน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะ การสร้างรูปแบบการจัดขยะอย่างยั่งยืน พบว่า การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่หลังจากที่มีการประชุมเชิงปฏิบัติการมีความเห็นตรงกันว่า ควรประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองปากพนัง นักวิชาการ เจ้าหน้าที่หน่วยงานเอกชน และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหาขยะในพื้นที่รูปแบบดังกล่าวเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ในการคิดสร้างสรรค์โครงการและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ การศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชนสระแก้ว และชุมชนบ้านล่าง เทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเด็นหลักจำเป็นต้องสร้างจิตสำนึกในการจัดการขยะของคนในชุมชนให้เกิดขึ้น พบว่าในชุมชนฯ มีรูปแบบการจัดการขยะโดยการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานสสส. อย่างต่อเนื่อง คำสำคัญ: การจัดการขยะ การมีส่วนร่วม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน
เอกสารงานวิจัย
  1. การจัดการขยะชุมชนของชุมชนสระแก้งและบ้านล่างเทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราชอย่างยั่งยืน

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ