ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยรูปแบบความสุขเชิงจิตวิทยา 5 มิติ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
Effects of mental health encourage program on the five dimensional psychological happiness model to develop the quality of life for the elderly

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผศ.ดร.พัชรี ถุงแก้ว
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
ศึกษาผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยรูปแบบความสุขเชิงจิตวิทยา 5 มิติ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านจิตใจของผู้สูงอายุ
คำสำคัญ
คุณภาพชีวิต ความสุขเชิงจิตวิทยา 5 มิติ โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิต
บทคัดย่อย
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ศึกษาผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยรูปแบบความสุขเชิงจิตวิทยา 5 มิติ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านจิตใจของผู้สูงอายุ ของชุมชนบ้านหัวสะพาน ตำบลบ้านยาง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครที่เป็นผู้สูงอายุติดสังคม โดยมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบวัดความสุข มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .88 แบบวัดคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .92 และโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยรูปแบบความสุขเชิงจิตวิทยา 5 มิติ โดยจัดกิจกรรม เป็นเวลา 10 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบด้วย Paired t-test ผลการวิจัย พบว่าคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตโดยรวมหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยรูปแบบความสุขเชิงจิตวิทยา 5 มิติ มีค่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ("X" ̅ = 81.93) และคะแนนค่าเฉลี่ยความสุขหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยรูปแบบความสุขเชิงจิตวิทยา 5 มิติ มีคะแนนค่าเฉลี่ยความสุขสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ("X" ̅ = 53.03)
เอกสารงานวิจัย
  1. บทคัดย่อ
  2. กิตติกรรมประกาศ
  3. สารบัญ
  4. บทที่ 1
  5. บทที่ 2
  6. บทที่ 3
  7. บทที่ 4
  8. บทที่ 5
  9. บทที่ 6
  10. บรรณานุกรม
  11. ภาคผนวก
  12. ประวัติย่อผู้วิจัย
  13. แบบสรุปโครงการวิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ