ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ผ้าขาวม้าทรงเครื่องของกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตำบลขนวน อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น
-

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์นลินี หิมพงษ์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการบริหารงาน/บทเรียน/เศรษฐกิจภาพรวมของกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตำบลขนวน อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น 2. เพื่อวิเคราะห์ความต้องการผ้าฝ้ายของผู้บริโภค 3. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้เกิดการเพิ่มมูลค่าของกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตำบลขนวน
คำสำคัญ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์, ผ้าขาวม้าทรงเครื่อง
บทคัดย่อย
ระดับครัวเรือนมีการสร้างความเข้าใจร่วมกันตั้งแต่ระดับครัวเรือนให้เกิดความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ชุมชน และเกิดการอนุรักษ์วิถีชีวิตพื้นบ้านการทอผ้ามีการอบรม พัฒนาทักษะวิธีการทอผ้า และพัฒนารูปแบบการผลิตให้มีความโดดเด่นสวยงาม ระดับกลุ่ม มีการสร้างข้อตกลง โดยมีการจัดตั้งกลุ่ม กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตำบลขนวน อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่นมีการเลือกตั้งกรรมการบริหารทุกๆ 2 ปี ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 21 กลุ่ม และมีการประชุมกรรมการบริหารทุก 3 เดือนหรือตามจำเป็นสร้างการมีส่วนร่วมให้สมาชิกในกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตำบลขนวน อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่นมีความสามัคคี ความเสียสละ ความซื่อสัตย์ และการเอื้ออาทรซึ่งกันและกันในชุมชนเกิดระบบการผลิตแบบพึ่งพาตนเองมีการรวมกลุ่มของคนในชุมชนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์และนำไปสู่ผลิตภัณฑ์แห่งความภูมิใจของชาวตำบลขนวนซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับวิถีทางแห่งการดำรงชีวิตมากมายหลายอย่างด้วยกัน ระดับชุมชน มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าภายในตำบลขนวนเพื่อสร้างการเรียนรู้เกิดความรัก ความหวงแหนในภูมิปัญญาการทอผ้าให้กับกลุ่มอื่นๆ และผู้ที่สนใจ ระดับเครือข่าย มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ เพื่อเป็นแหล่งศึกษากระบวนการผลิตผ้าย้อมสีธรรมชาติให้แก่ผู้สนใจเข้าร่วมเครือข่ายแปรรูปผ้าฝ้าย เพื่อเป็นการขยายช่องทางการตลาด มีการขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น อำเภอหนองนาคำ พัฒนาการอำเภอหนองนาคำ กศน.อำเภอหนองนาคำ และเทศบาลตำบลขนวน อย่างไรก็ตามทางกลุ่มได้พยายามอย่างยิ่งในการต่อยอดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าทอพื้นเมือง เพื่อเพิ่มความต้องการของผู้บริโภคและทำให้ผ้าทอสามารถนำไปใช้ในโอกาสที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหาอุปสรรคที่สำคัญคือทางกลุ่มยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในการทำการตลาดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้หากมีการนำเอาความงามของผ้าทอพื้นเมืองมาประยุกต์หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถนำมาใช้งานในชีวิตประจำวันหรือโอกาสอื่น ๆ ได้ เช่น ของขวัญ ของที่ระลึก ที่จะเป็นการขยายกลุ่มผู้บริโภคและเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภคซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าของผ้าทอพื้นเมืองได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจในการนำเอาผ้าทอพื้นเมืองขนวนมาพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์เพื่อต่อยอดและเพิ่มมูลค่า อีกทั้งการนำผ้าทอพื้นเมืองประยุกต์ใช้ จะเป็นการประชาสัมพันธ์และเป็นการเก็บรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตผ้าทอพื้นเมืองขนวนเพื่อการถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลังและเป็นสินทรัพย์ของแผ่นดินไทยตลอดไป
เอกสารงานวิจัย
  1. บทสรุป

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ