ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการองค์กรวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สมุนไพร ของตาบลหนองเหล็ก อาเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
The Development of Management Organization Model of Community Enterprises Herbal Products in The District of Nong lek Amphoe kosum Phisai Maha Sarakham Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผศ.กมลทิพย์ ตรีเดช
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการของวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สมุนไพร ในตาบลหนองเหล็ก อาเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 2. เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนารูปแบบการจัดการวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สมุนไพร ในตาบล หนองเหล็ก อาเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 3. เพื่อได้แนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์กรวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สมุนไพร ของตาบลหนองเหล็ก อาเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ
การจัดการ, วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สมุนไพร, ตาบลหนองเหล็ก อาเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
บทคัดย่อย
กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนองค์การบริหารส่วนตาบลหนองเหล็ก อาเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นกลุ่มชุมชนเข้มแข็ง เกิดจากการรวมตัวของคนในชุมชน ได้จัดทาโครงการส่งเสริมกลุ่มอาชีพให้กับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกพืชสมุนไพรตาบลหนองเหล็ก และเกษตรกรในตาบล เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปัจจุบันมีกลุ่มผู้ปลูกพืชสมุนไพร ครอบคลุม ทั้ง 19 หมู่บ้านในเขตตาบลหนองเหล็ก การบริหารกลุ่ม มีการประชุมของกลุ่มสมาชิก และมีการประชาสัมพันธ์กลุ่มเข้าร่วมสัมมนากับหน่วยราชการ ร่วมกิจกรรมวันสตรีสากล ส่งผลิตภัณฑ์ประกวดและจาหน่ายในงานเทศกาลต่าง ๆในระดับอาเภอ จังหวัด และนาผลิตภัณฑ์ไปสาธิตตามเทศกาลหรือหน่วยงานที่ขอมาการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ เงิน SML ของหมู่บ้าน ได้รับการสนับสนุนเงินกู้ จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี ตาบลหนองเหล็กและสานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ปัญหาการดาเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร สมาชิกมาประชุมไม่ตรงต่อเวลาและไม่พร้อมเพรียงกัน บางครั้งก็ขาดการประชุม เนื่องจากต้องประกอบอาชีพประจาวัน ขาดเครื่องมือในการผลิตที่ทันสมัย การแปรรูปไม่ผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) และไม่ผ่านการอาหารและยา (อย.) ขาดการดูแลช่วยเหลือจากภาครัฐและไม่ต่อเนื่อง ขาดงบประมาณ และยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชน ประเด็นยุทธศาสตร์เชิงรุก ขยายตลาดในผลิตภัณฑ์เดิม ขยายตลาดในผลิตภัณฑ์ใหม่ บริหารจัดการรวบรวมวัตถุดิบในชุมชน บริหารจัดการหาช่องทางจาหน่ายผลิตภัณฑ์ ขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานในการประสานงานกับกลุ่มอื่น ประเด็นยุทธศาสตร์เชิงแก้ไข เชื่อมโยงเครือข่ายการผลิต ส่งเสริมชุมชนให้มีการปลูกสมุนไพรมากขึ้น ประเด็นยุทธศาสตร์เชิงป้องกันพัฒนาคุณภาพการผลิตที่ถูกสุขลักษณะเป็นไปตามหลักสุขาภิบาลโรงงาน ประเด็นยุทธศาสตร์เชิงวิกฤตเพิ่มเครื่องจักรที่ทันสมัย การส่งเสริมการตลาดการโฆษณาประชาสัมพันธ์ จากการศึกษาของผู้วิจัย พบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากสินค้าชุมชนไม่มีความหลากหลาย ผลิตสินค้าไม่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ผู้บริโภคไม่สามารถต่อรองราคาสินค้าได้ ขาดสื่อประเภทต่างๆในการสร้างการรับรู้และกระตุ้นความต้องการสินค้าของผู้บริโภค ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขปัญหาโดยใช้การดาเนินงานด้านการจัดการที่มีประสิทธิภาพ จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นจึงทาให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดการองค์กรวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สมุนไพร ของตาบลหนองเหล็ก อาเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคามเพื่อจะได้ทราบสภาพและปัญหาอุปสรรค ปัจจัยความสาเร็จ แนวทางในการจัดการเครือข่ายที่นาไปสู่การวางแผนพัฒนาตลาดการจัดการวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพร ที่เหมาะสมสาหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการองค์กรวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สมุนไพรของตาบลหนองเหล็ก อาเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม จะต้องยึดแนวนโยบายของภาครัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งผู้วิจัยได้นาคุณลักษณะสาคัญต่างๆ ที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิผลการจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สมุนไพร มาช่วยในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออก ดังนี้ คือ สถานภาพปัญหาของการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร ด้วยมาตรฐานการจัดการวิสาหกิจชุมชน 1.ด้านบริหารจัดการ 2. ด้านบริหารการผลิต 3. ด้านบริหารการตลาด 4. ด้านบริหารการเงิน 5. ด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ 6. ด้านบริหารการพัฒนาทางเทคโนโลยี และ7. แนวคิดด้านบริหารเครือข่าย โดยได้ทบทวนวรรณกรรม ห่วงโซ่คุณค่า (Value chain ) จากงานของ พอร์เตอร์ ( Porter,1990); โดแลน และฮัมฟรีย์ ( Dolan, and Humphrey,2000 ) และแดส ลัมพ์คิน และเทเลอร์ ( Dess, Lumpkin, and Taylor, 2003 ) และปัจจัยที่มีผล ต่อการจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร หรือปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในองค์กร ของ Mckinsey ’s 7’S ได้แก่ 1. ด้านกลยุทธ์ (Strategy) 2. ด้านโครงสร้าง (Structure) 3. ด้านระบบ (System) 4. ด้านรูปแบบ (Style) 5. ด้านการจัดการบุคคลเข้าทางาน (Staff) 6. ด้านทักษะ (Skill) และ7. ด้านค่านิยมร่วม ( Shared value) ส่วนปัจจัยที่ ใช้วิเคราะห์สถานะผู้รับบริการด้วย ส่วนประสมการตลาด ( 4Ps ) และผลการดาเนินงาน ( Performance ) การวัดประสิทธิผลการจัดการ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร โดยประยุกต์จากแนวทาง กลยุทธุ์การจัดการที่มีประสิทธิผลแบบดุลยภาพ Balanced Scorecard ของ Kaplan และ Norton ( วิจารณ์ พานิช. ม.ป.ป. : เว็บไซต์ ) ซึ่งขบวนการดังกล่าวนี้จะไปเพิ่มประสิทธิผลการจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้อย่างยั่งยืนต่อไป
เอกสารงานวิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ