ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลงานสวัสดิการชุมชน ตาบลกุดรัง อาเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
Local Participation in the Development of Community Welfare Database for Tumbon Kudrang community welfare, Borabue District, Mahasarakham Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ธเนศ ยืนสุข
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานบริบทพื้นที่วิจัย และกองทุนสวัสดิการชุมชนตาบลกุดรัง อาเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม 2. เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลงานสวัสดิการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นตาบลกุดรัง อาเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม 3. เพื่อการอบรมและความพึงพอใจระบบฐานข้อมูลงานสวัสดิการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นตาบลกุดรัง อาเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ
การมีส่วนร่วมของท้องถิ่น, การพัฒนาระบบฐานข้อมูล, สวัสดิการชุมชนตาบลกุดรัง
บทคัดย่อย
องค์การบริหารส่วนตาบลกุดรัง ตั้งอยู่ที่บ้านหนองบัว หมู่ที่ 2 ตาบลกุดรัง อาเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม ตั้งอยู่ทิศเหนือของที่ว่าการอาเภอกุดรัง ระยะทาง 3 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดมหาสารคาม 40 กิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบไม่สม่าเสมอสภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายมีการกัดเซาะ หน้าดินสูง การอุ้มน้าต่า ขาดการบารุงรักษาดิน ตาบลกุดรังมีประชากรทั้งสิ้น 6,844 คน เป็นชาย 3,463 คน หญิง 3,381 คน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทานา ประมาณ 73% เลี้ยงสัตว์ ประมาณ 10% ทาไร่ ประมาณ 5% ทาสวน ประมาณ 2% รับจ้าง ประมาณ 3% ค้าขาย ประมาณ 4% และอื่น ๆ ประมาณ 3% แม้เป็นตาบลที่มีขนาดใหญ่ แต่สามารถทางานและสร้างการมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง มีการจัดสวัสดิการชุมชน โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดตั้งและดูแลกองทุนในหมู่บ้านของตนเอง ซึ่งในปัจจุบันมีกองทุนสวัสดิการชุมชนทั้งหมด 15 กองทุน โดยองค์การบริหารส่วนตาบลกุดรังมีหน้าที่ดูแลและเป็นตัวกลางในการประสานงานกับภาครัฐ จากการที่ผู้วิจัยและคณะได้ลงพื้นที่สารวจบริบทพื้นที่วิจัยและความต้องการของสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนตาบลกุดรังเบื้องต้น พบว่า สมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนตาบลกุดรังมีความต้องการที่จะพัฒนาระบบฐานข้อมูลงานสวัสดิการชุมชนตาบลกุดรัง อาเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม เพื่อที่สมาชิกสามารถดูข้อมูลของสวัสดิการชุมชนตาบลกุดรังไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมต่าง ๆ หรือแม้แต่โครงสร้างการบริหารกองทุน ที่มาของเงินกองทุน สวัสดิการที่ชาวบ้านได้รับ ขั้นตอนการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน เป็นต้น โดยให้นักวิชาการหรือนักวิจัยมาช่วยพัฒนาระบบฐานข้อมูลสวัสดิการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและอบรมการใช้ระบบฐานข้อมูลงานสวัสดิการชุมชนตาบลกุดรังให้กับสมาชิกและผู้เกี่ยวข้องต่อไป
เอกสารงานวิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ