ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนาแนวทางการจัดสวัสดิการทางสังคมสำหรับเด็กและเยาวชน กรณีศึกษาชุมชนตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
Development of social welfare guidelines for children and youth: A case study of Nongbua Community Sub-district Na Mon District Kalasin Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผศ.บัญชา พุฒิวนากุล
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสถานการณ์ของเด็กและเยาวชนในชุมชนตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัด กาฬสินธุ์ 2. เพื่อค้นหาแนวทางการจัดสวัสดิการทางสังคมสำหรับเด็กและเยาวชน กรณีศึกษาชุมชนตำบล หนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ 3. เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดสวัสดิการทางสังคมสำหรับเด็กและเยาวชน กรณีศึกษาชุมชนตำบล หนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ
การพัฒนา, สวัสดิการทางสังคม
บทคัดย่อย
ภายใต้อิทธิพลโลกาภิวัตน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งมาจากความเจริญก้าวหน้า ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้วัฒนธรรมต่างประเทศได้เข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมไทยเด็กเยาวชนซึมซับ แนวคิดและกระแสนิยมบางอย่างเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิต ซึ่งบางอย่างเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับสภาพ สังคมไทยทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้นมาที่ส่งผลกระทบต่อตัวเด็กและเยาวชนทำให้มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ตามวัยและต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น ปัญหาการดื่มสุรา บุหรี่ ยาเสพติด การพนัน การติดเกม การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การตกเป็นเหยื่อการบริโภควัตถุนิยม การใช้ ความรุนแรง การทะเลาะวิวาท เป็นต้น จากรายงานของศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาเพื่อเด็กและผู้มีความต้องการพิเศษปี 2559 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า ปัญหาสำคัญที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนมี 9 ปัญหา ได้แก่ 1) ปัญหาด้าน ยาเสพติด พบว่า เด็กและเยาวชนมีการเสพยาบ้า สารระเหย กัญชา และ 4X100 2) ปัญหาด้านพฤติกรรม ได้แก่ ความฟุ้งเฟ้อ การแต่งกาย ติดเกม ขาดวินัย ความรับผิดชอบ ไม่รู้จักหน้าที่ของตนเอง ขาดความร่วมมือ กับชุมชน ไม่มีพลังเยาวชน และขาดจิตสำนึก 3) ปัญหาด้านการศึกษา พบว่า เด็กและเยาวชนขาดเรียนออก กลางคัน หนีเรียนไม่เรียนต่อในระดับสูง ยากจนไม่มีทุนศึกษาต่อ เรียนจบแล้วไม่มีงานทำ 4) ปัญหาทางเพศ การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร พบว่า มีการค้าประเวณี เกิดปัญหาท้อง ไม่มีพ่อ 5) ปัญหาคุณธรรม จริยธรรม พบว่า เด็กและเยาวชนมีนิสัย กิริยามารยาทก้าวร้าวขาดความเคารพเชื่อฟัง ไม่ปฏิบัติตามวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม 6) ปัญหาการใช้เวลาว่างเด็กและเยาวนใช้เวลาว่างในการเล่นเกม ติดเพื่อน มั่วสุมเล่นการ พนัน ดื่มสุรา ติดบุหรี่ และอื่น ๆ 7) ปัญหาการก่ออาชญากรรมมีการทะเลาะเบาะแว้งยกพวกตีกัน ลักขโมย ปล้นจนถึงขั้นการข่มขืน 8) ปัญหาครอบครัว พบว่า ครอบครัวไม่มีเวลาดูแลบุตรหลาน ครอบครัวเปราะบาง แตกแยก ขาดความอบอุ่น 9) ปัญหาการค้ามนุษย์แรงงานเด็ก การค้าประเวณี และอื่น ๆ เป็นต้น (ศูนย์วิจัย และพัฒนานวัตกรรมการศึกษาเพื่อเด็กและผู้มีความต้องการพิเศษ. 2559) สอดคล้องกับรายงานผลจากกรมอนามัยประจำปี พ.ศ. 2559 ก็พบว่า วัยรุ่นชายเกือบทั้งหมดมี เพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน ส่วนวัยรุ่นหญิงในเขตเมืองเกือบครึ่งหนึ่งมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน ซึ่งมากกว่าวัยรุ่น หญิงในชนบท โดยการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นมักมีกับเพื่อนหรือคู่รักของตนมากกว่าการมีเพศสัมพันธ์กับหญิง ขายบริการทางเพศ นอกจากนี้ยังพบว่า วัยรุ่นที่เคยมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก หรือครั้งสุดท้ายมีอัตราที่ค่อนข้างน้อย ซึ่งในกลุ่มนักเรียนที่มีเพศสัมพันธ์และมีการใช้ถุงยางอนามัยมีไม่เกิน ร้อยละ 65 พฤติกรรมดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อผลการเรียนของเด็กที่มีท้องที่ไม่อาจไปเรียนหนังสือหรือเมื่อ คลอดบุตรแล้ว ก็ไม่มีความสามารถในการดูแลเลี้ยงดูได้ อาจต้องเป็นภาระให้กับสังคมหรือพ่อแม่เป็นผู้ รับภาระการเลี้ยงดู ทำให้เด็กเติบโตอย่างไม่มีคุณภาพที่เหมาะสม และพ่อแม่วัยเด็กก็ต้องออกจากโรงเรียน ก่อนจบการศึกษา และจากรายงานยังพบอีกว่าการมีเพศสัมพันธ์ของกลุ่มเด็กดังกล่าวมีเพศสัมพันธ์คนที่ไม่ใช่ คนรักหรือแฟนที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันตนเองเมื่อมีเพศสัมพันธ์ อันเป็นเหตุที่จะส่งผลต่อการมี เพศสัมพันธ์ไม่ปลอดภัย อาจจะมีปัญหาการติดโรคจากเพศสัมพันธ์ เช่น เอดส์ กามโรค เป็นต้น สอดคล้องกับ รายงานสถานการณ์ปัญหาเด็กและเยาวชนของกระทรวงศึกษาธิการประจำปี พ.ศ. 2559 พบปัญหาที่เกิดกับ เด็กและเยาวชน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ปัญหาที่เกิดมาจากความยากจนและด้อยโอกาสทั้งที่มีมาแต่ กำเนิดหรือผลสืบเนื่องมาจากครอบครัวหรือถูกกระทำจากบุคคลหรือสังคม 2) ปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรม เบี่ยงเบน เช่น เรื่องเพศสัมพันธ์ ติดเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด ทะเลาะวิวาท ฆ่าตัวตาย เล่นการพนัน เที่ยวเตร่ สถานบันเทิง ติดเกม อินเตอร์เน็ต เข้าถึงสื่อลามกอนาจารหรือสื่อที่แสดงความรุนแรง ฯลฯ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2559) จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวในข้างต้น ปัญหาและปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนไทยมี ด้วยกันหลายสาเหตุ เช่น ความแตกแยกในครอบครัว หย่าร้าง การขาดความอบอุ่น อยู่ในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว และการขาดการดูแลจากคนในครอบครัว ระบบการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกันไม่เหมาะกับสภาพชีวิตเด็กแต่ละ พื้นที่ การมีกลุ่มเพื่อนที่ชอบใช้ความรุนแรง การบริโภคสื่อที่ไม่เหมาะสมทั้งเรื่องของความรุนแรง เรื่องเพศ ปัญหาการติดเกม อบายมุข และการพนันในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงสภาพแวดล้อมในชุมชนที่เป็นแหล่งอบายมุข ซึ่งกระตุ้นพฤติกรรมเสี่ยง ทั้งการเที่ยวกลางคืน การดื่มเหล้า เสพสารเสพติด การทะเลาะวิวาท พฤติกรรมเสี่ยง ทางเพศ การตั้งกลุ่มหรือแก๊งเพื่อก่อพฤติกรรมเสี่ยงภัยบนท้องถนน นอกจากนี้หน่วยงานภาครัฐเองก็มีปัญหา ในการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน อีกทั้งยังขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับเด็ก เยาวชน และข้อมูลเชิงพื้นที่ในระดับหมู่บ้าน หรือชุมชนทำให้การแก้ไขปัญหาไม่ตรงตามความเป็นจริง เป็นต้น องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ มีกลุ่มงานฝ่ายสวัสดิการสังคมที่ ดูแลรับผิดชอบจัดสรรสวัสดิการสังคมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคมและพัฒนาสังคม รวมทั้งการ ส่งเสริมความมั่นคงทางสังคม เพื่อให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตได้ในระดับมาตรฐาน โดยบริการดังกล่าว จะต้องตอบสนองความต้องการพื้นฐานของประชาชนให้ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ให้แก่ประชาชนในชุมชนในหลาย ๆ ด้าน อาทิ ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านความเป็นอยู่อาศัย ด้าน การบริการสังคมทั่วไป และด้านการมีรายได้ เป็นต้น ปัจจุบัน กลุ่มงานฝ่ายสวัสดิการสังคม ได้ให้ความสำคัญ กับการจัดสวัสดิการสังคมในด้านต่าง ๆ สำหรับเด็กและเยาวชน ทั้งนี้เพราะทางหน่วยงานมีความต้องการจะ ส่งเสริมและพัฒนาสร้างให้เด็กและเยาวชนในชุมชนเป็นคนที่มีคุณภาพ เป็นคนดี คนเก่งถึงพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย เคารพกฎหมาย มีความรับผิดชอบและมีจิตสำนึกเป็นสาธารณะรู้รักสามัคคี ตลอดจน เพื่อ ต้องการให้เด็กและเยาวชนห่างไกลปัญหาหรือพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงไปทางที่ไม่ดีในหลาย ๆ ด้าน อาทิ พฤติกรรมการมั่วสุขอบายมุขเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ติดเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด เล่นการพนัน เรื่องเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร พฤติกรรมเบี่ยงเบน เช่น ทะเลาะวิวาท การเที่ยวเตร่ ติดเกมอินเตอร์เน็ต การ เข้าถึงสื่อลามกอนาจารหรือสื่อที่แสดงความรุนแรง เป็นต้น สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่วิจัยเพื่อ ตรวจทานข้อมูลการวิจัยของผู้วิจัยและคณะ พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว มีความต้องการที่จะ ส่งเสริมกลุ่มงานด้านสวัสดิการสังคมสำหรับเด็กและเยาวชนเพื่อเร่งผลักดันให้เกิดการสร้างนวัตกรรมภูมิคุ้มกัน ที่ดีทางสังคมสำหรับเด็กและเยาวชนในชุมชนอย่างแท้จริง เป็นต้น ดังนั้น จากความสำคัญที่กล่าวมาในข้างต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัย เพื่อท้องถิ่น มีวิสัยทัศน์เพื่อเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ด้านการวิจัยที่มีคุณภาพมาตรฐานเพื่อพัฒนาการเรียน การสอน ได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายองค์การ ปกครองส่วนท้องถิ่นใน 42 แห่ง ทางภาคอีสานได้ร่วมมือกันทำวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาสังคม อันจะนำไปสู่ชุมชน ท้องถิ่นน่าอยู่ โดยผู้วิจัยและคณะได้ตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน โดย ผ่านการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาแนวทางการจัดสวัสดิการทางสังคมสำหรับเด็กและเยาวชน กรณีศึกษาชุมชน ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์” เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น ให้เกิดเป็น เครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน ต่อไป
เอกสารงานวิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ