ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน: กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลโพนแพง อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
Guideline for Community Solid Waste Management: A Case Study of Phonpaeng Sub-District Administrative Organization, Muang Samsib District, Ubon Ratchathani Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผศ.ดร.พรณรงค์ สิริปิยะสิงห์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลโพนแพง อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี 2. เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลโพนแพง อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ
แนวทาง, ขยะมูลฝอย, การจัดการขยะมูลฝอย, ชุมชน, การคัดแยกขยะ
บทคัดย่อย
สำหรับการจัดการขยะของ อปท. ซึ่งมีผู้บริหารระดับท้องถิ่น ที่เป็นฝ่ายบริหารและผู้กำหนดนโยบาย ได้แก่ ผู้บริหารของเทศบาล และ อบต. มีการนำมาตรการและแนวทางการปฏิบัติที่กำหนดไว้ในแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2550-2554 ไปพิจารณาปรับใช้ตามความเหมาะสมของสภาพปัญหาและพื้นที่ โดยกำหนดเป็นโครงการ และกิจกรรม เพื่อบรรจุไว้ในแผนพัฒนาสามปีของ อปท. ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ตามสถานการณ์ในพื้นที่และสอดคล้องกับความต้องการของ ประชาชน ซึ่งการจัดการขยะของ อปท. ในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ โดยแบ่งตามขนาด ของเทศบาล ทั้งเทศบาลขนาดใหญ่ เทศบาลขนาดกลาง และเทศบาลขนาดเล็ก และ อบต. ในการจัดการ ขยะของ อปท. ในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งการจัดการขยะมีความสำคัญที่ต้องมี การจัดการความรู้ เทคโนโลยีทางวิชาการ กำลังคน ทรัพยากรและการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งมีวิธีการจัดการขยะที่หลากหลาย เช่น การฝังกลบ การนำขยะอินทรีย์มาทำปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพและ แก๊สชีวภาพ ขยะรีไซเคิล เผาในเตาเผาขยะ และเทคโนโลยีในการจัดการขยะ เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสุขภาพ ก่อให้เกิดความพึงพอใจในการดำเนินการจัดการด้านขยะของ อปท. ในกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้ปัญหาและอุปสรรค ของการนำนโยบายไปปฏิบัติที่จะต้องหาแนวทางแก้ไข ทั้งหน่วยงาน องค์การ กลุ่มบุคคลที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ตำบลโพนแพงตั้งอยู่ด้านทิศใต้ ของอำเภอม่วงสามสิบ ระยะทางห่างจากที่ตั้งของอำเภอม่วงสามสิบประมาณ 9 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 34 กิโลเมตร มีสภาพการคมนาคมโดยทั่วไป คือมีถนนลูกรังเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน และตำบลใกล้เคียง 4 สาย มีถนนลูกรังเชื่อมระหว่างหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน มีอาณาเขตทางทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านเทพา ตำบลม่วงสามสิบ อำเภอม่วงสามสิบ ทิศใต้ติดต่อกับบ้านหนองไข่นก ตำบลหนองไข่นก อำเภอม่วงสามสิบ ทิศตะวันออกติดต่อกับบ้านหนองแฝก ตำบลยางสักกระโพหลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ และทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านหนองไม้ตาย ตำบลหนองเหล่า อำเภอม่วงสามสิบ ปัจจุบันเป็นเขตความรับผิดชอบของพื้นที่ในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนแพง อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี มีจำนวนหมู่บ้านที่อยู่ในเขตการปกครองจำนวน 10 หมู่บ้าน พื้นที่ในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนแพง อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ในปัจจุบันมีอัตราการเพิ่มของปริมาณขยะจากครัวเรือน และการบริโภคอย่างมากขึ้น สาเหตุหลักเกิดจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ซึ่งจะเห็นว่าขยะมูลฝอยมีอัตราเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติตามจำนวนประชากร เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมวัสดุบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารมีความสำคัญและจำเป็นทำให้มีวัสดุประเภทพลาสติกเกิดขึ้นมากมาย และมีความหลากหลายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด ถุงพลาสติกทำให้เกิดความสะดวกมากขึ้น ทั้งต่อผู้ขายและผู้ซื้อ ในขณะเดียวกันในชุมชนได้มีร้านจำหน่ายอาหารเกิดขึ้นหลายแห่ง ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของชุมชน และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบของขยะในปัจจุบัน จากปัญหาที่เกิดขึ้นที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้ทำการศึกษาเรื่องแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน โดยมุ่งเน้นที่จะศึกษาในส่วนการจัดการของหน่วยงาน และของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโพนแพง อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี และข้อมูลที่ได้รับจะได้นำไปสู่การศึกษาเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนให้รู้จักการจัดการขยะมูลฝอยในระดับครัวเรือนให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคตรวมทั้งการหนุนเสริมขององค์กรชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอยในระดับครัวเรือนซึ่งจะส่งผลโดยรวมให้ชุมชนน่าอยู่มากยิ่งขึ้น
เอกสารงานวิจัย
  1. บทสรุป

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ