ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การสร้างพลังเด็กและเยาวชนในการมีส่วนร่วมจัดการขยะชุมชน
Empowering Children and Youth to Participate in Community Waste Management.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์เมตตา เก่งชูวงศ์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
4.1 เพื่อศึกษาสภาพสถานการณ์การจัดการขยะของชุมชน 4.2 เพื่อเสริมสร้างให้เด็กและเยาวชนได้เข้ามาการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะชุมชน 4.3 เพื่อศึกษารูปแบบการใช้หลัก “บวร”(บ้าน-วัด-โรงเรียน) ในการจัดการขยะชุมชน 4.4 เพื่อสังเคราะห์แนวทางการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในการจัดการขยะของชุมชน
คำสำคัญ
การสร้างพลังเด็กและเยาวชน , การมีส่วนร่วม, การจัดการขยะชุมชน
บทคัดย่อย
“ขยะ” เป็นเรื่องใกล้ตัวคนไทยทุกคน เพราะคนสร้างขยะขึ้นเกือบจะตลอดเวลา และเมื่อสภาวะแวดล้อมของชุมชนจำนวนเกือบจะทั่วทั้งประเทศ เปลี่ยนเป็นสภาวะแวดล้อมแบบชุมชนเมือง ปัญหาการจัดการขยะจึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ปัจจุบันการหาซื้อหรือเช่าที่ดินชนบททำเป็นสถานที่ ทิ้งและจัดการกับขยะด้วยวิธีที่ไม่ซับซ้อนเช่น วิธีการกลบฝังไม่ใช่เรื่องง่ายแล้ว ปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นนี้นอกจากจะมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นแล้ว ความรุนแรงที่มากขึ้นในปัจจุบันยังมาจากปัจจัยของการเจริญก้าวหน้าทางการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ไม่หยุดยั้ง ก่อให้เกิดการเลือกบริโภคที่หลาก หลายสำหรับประชาชนทั้ง สินค้าอุปโภค บริโภค วัสดุอุปกรณ์ เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมถึงการให้บริการที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะกลุ่มของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ ๆ ที่มีการนำเข้าสู่ตลาดผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง จากรายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559 ของกรมควบคุมมลพิษ (2560) พบว่าในปี พ.ศ. 2559 มีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นของประเทศไทย 27.06 ล้านตัน คิดเป็นอัตราการเกิดขยะมูลฝอยที่ 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ซึ่งจากสถานการณ์ที่ผ่านมานับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2551-2559 พบว่าประเทศไทยยังมีแนวโน้มของขยะมูลฝอยทั้งปริมาณและอัตราการเพิ่มขึ้นสูงทุกปี ในขณะที่อัตราขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัด และอัตราขยะมูลฝอยที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทั้งนี้ วิกฤตปัญหาขยะมูลฝอย จึงถือเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เนื่องจากปัญหาทวีความรุนแรงมากขึ้นทั้งด้านปริมาณขยะมูลฝอยที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ดำเนินการไม่ถูกต้องยังคงไม่ได้รับการปรับปรุง รวมทั้งในสังคมเมืองที่มีการขยายตัวสูงตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งเทคโนโลยี ส่งผลให้เกิดการบริโภคเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยในสังคมเมืองเพิ่มขึ้นตามไป ปัญหาดังกล่าวได้ทำให้คณะรัฐมนตรี ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 ลงมติเห็นด้วยกับแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงมหาดไทยจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศระยะสั้น (พ.ศ. 2559-2560) โดยจัดทำแผนปฏิบัติการ“ประเทศไทยไร้ขยะ” ตามแนวทาง“ประชารัฐ” ระยะ 1 ปีด้วยการใช้หลักการ 3 Rs คือ การใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจังหวัดกาฬสินธุ์ได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด-3Rs-ประชารัฐ” โดยมีเป้าหมายร้อยละ 100 ของส่วนราชการ สถานศึกษา ศาสนสถาน ภาคเอกชน และสถานประกอบการให้มีการลดและคัดแยกขยะ หรือนำกลับมาใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ จังหวัดกาฬสินธุ์ยังกำหนดให้หน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดำเนินงานตามแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด-3Rs-ประชารัฐ” (สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดกาฬสินธุ์, 2560) องค์การบริหารส่วนตำบลตำบลไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ให้ความสำคัญและดำเนิน การในเรื่องดังกล่าวตามนโยบายของประเทศและจังหวัด โดยได้จัดให้มี “แผนการจัดการขยะองค์การบริหารส่วนตำบลไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ปี 2558–2565” นอกจากนี้ ยังดำเนินวางแผนจัดทำ “โครงการสร้างพลังชุมชนจัดการปัญหาขยะมูลฝอยจากแหล่งกำเนิด” ซึ่งเป็นข้อบัญญัติหนึ่งที่ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาจากปีงบประมาณ 2560 ของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โดยในโครงการดังกล่าวมีการวางวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ มีความตระหนัก มีการจัดการขยะอย่างครบวงจร ประชาชนสามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้องและการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงเพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนลดใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการทิ้งขยะมูลฝอย ซึ่งการดำเนินการในปีที่ผ่านมานั้น นอกจากจะจัดกิจกรรมให้ประชาชนในชุมชนแล้ว ยังให้โรงเรียนเข้ามามีส่วนร่วมแต่การดำเนินกิจกรรมตามโครงการยังไม่ครอบคลุมทุกหมู่บ้านและโรงเรียน จากการลงพื้นที่สอบทานข้อมูลเพื่อหาโจทย์ประเด็นศึกษาเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2560 พบว่ากิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ สร้างความตระหนัก หรือการคัดแยกขยะจะเป็นการจัดกิจกรรมที่แยกระหว่างกลุ่มเด็กในโรงเรียนและผู้ใหญ่ในชุมชน รวมถึงอีกหนึ่งสถานที่ที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจคือ “วัด”นั้น ยังไม่มีการเข้ามามีส่วนร่วมที่ชัดเจน ดังนั้น คณะผู้วิจัย จึงเล็งเห็นว่าศักยภาพหนึ่งที่จะช่วยเชื่อมและดึงคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างต่อเนื่องนั่นคือ “พลังของเด็กและเยาวชน” โดยการใช้หลัก “บวร”(บ้าน-วัด-โรงเรียน) มาผนึกเป็นกำลังให้ “โครงการสร้างพลังชุมชนจัดการปัญหาขยะมูลฝอยจากแหล่งกำเนิด”ได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และเพื่อผลของการศึกษาในครั้งนี้จะได้เป็นข้อมูลพื้นฐานให้องค์การบริหารส่วนตำบลไค้นุ่น ได้นำไปเป็นแนวทางวางแผนและประยุกต์ใช้เพื่อขับเคลื่อนการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่หมู่บ้านอื่นๆ ของตำบลต่อไป
เอกสารงานวิจัย
  1. บทสรุป

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ