ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้วยกิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ตำบลแจนแลน อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
The model for Developing Quality of Life of the Elderly by Using Religious and Local Cultural Activities in Janlan Sub-district, Kuchinarai District, Kalasin Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : นางสาวคคนางค์ ช่อชู
ผู้ร่วมวิจัย : นายสิทธิพร อิทธสมบัติ นายสำรวม วรพันธ์ นายธนากรณ์ ทำทอง
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1.  เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและสถานการณ์ปัญหาผู้สูงอายุของตำบลแจนแลน อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อวิเคราะห์ความรู้ด้านกิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของตำบลแจนแลน อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 3. เพื่อค้นหารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านจิตใจผู้สูงอายุด้วยกิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ของตำบลแจนแลน อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ
ผู้สูงอายุ, คุณภาพชีวิต, วัฒนธรรม
บทคัดย่อย
"การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทและสถานการณ์ผู้สูงอายุ และวิเคราะห์องค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น และเพื่อค้นรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกโรงเรียนผู้สูงวัยไทแจนแลน อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ผลการศึกษาพบว่า ด้านบริบทและสถานการณ์ผู้สูงอายุ พบว่า แจนแลนเป็นชุมชนเก่าแก่มีวิถีวัฒนธรรมตามกลุ่มชาติพันธุ์ภูไท อาชีพทำการเกษตรทำนา ไร่อ้อย และยางพารา สถานการณ์ผู้สูงอายุมีจำนวนมากเพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุมีความสามารถหลายด้าน และมีปัญหาด้านสุขภาพและปัญหาหนี้สิน มีความต้องการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดอาชีพและรายได้ ด้ายความรู้ด้านกิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น พบว่า ชาวแจนแลนมีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนามากซึ่งเห็นได้จากมีวัดและสถานที่ปฏิบัติธรรมจำนวนมาก มีวัดที่เก่าแก่ที่เป็นศูนย์รวมคือวัดแจนแลนใต้ และวัดแจนแลนเหนือ กิจธรรมทางศาสนาเป็นไปตามฮีตสิบสองเดือนเหมือนชาวอีสานทั่วไป และมีแตกต่างคามเชื่อต่อบุคคลและสถานที่สำคัญของชุมชน เช่น งานเจ้าปู่ชินวงศ์ แต่สิ่งที่สังเคราะห์ได้จากวัฒนธรรมท้องถิ่น คือ องค์ประกอบของพิธีกรรมที่ชาวบ้านร่วมกันทำมาเพื่อร่วมทำบุญ ซึ่งมีทั้งกลุ่มที่เป็น อาหาร สิ่งประดับ และความเชื่อเกี่ยวกับบุญที่เกิดจากกิจกรรมในแต่ละครั้ง จึงได้เลือกเพื่อนำไปสู่ความสุขทางใจต่อการได้กระทำต่อความเชื่อ ความศรัธทา รูปแบบของการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงได้เลือกสิ่งที่เป็นองค์ประกอบของพิธรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมมาต่อยอดในการจัดทำเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาด้านอาชีพ เช่น ดอกไม้จันท์ โมบายใยแมงมุม เป็นต้น องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาจึงจัดให้มี ทั้งวิชาชีวิต วิชาชีพ และวิชาการ และพัฒนาตามบริบทของปฏิทินวัฒนธรรมท้องถินของชาวแจนแลน และมีพื้นที่ในการดำเนินการของหลักสูตรคือโรงเรียนผู้สูงอายุ "
เอกสารงานวิจัย
  1. โครงกาารย่อย กิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรม แจนแลน
  2. สรุปโครงกาารย่อย กิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรม แจนแลน
  3. ปก
  4. บทคัดย่อ
  5. Abstrac
  6. บทที่ 1
  7. บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรม ย่อย
  8. บทที่ 4 บริบท
  9. บทที่ 5
  10. บทที่ 6 สรุปอภิปรายผล
  11. เอกสารอ้างอิง

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ