ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนาแนวทางส่งเสริมความรู้แบบมีส่วนร่วมกับเกษตกร เรื่อง เกษตรกรรมปลอดภัยตามหลักการเกษตรพอเพียงอย่างยั่งยืน
The developing approach of knowledge promoted participation with farmers in agriculture safety and sustainable according to the sufficiency agriculture principle

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาวดี แหยมคง
ผู้ร่วมวิจัย : Dr. Tuan Nguyen Ngoc นางสาวปิยวดี น้อยน้ำใส อาจารย์พัทธนันท์ โกธรรม อาจารย์ ดร.อารีย์ ปรีดีกุล อาจารย์ธีรภัทร์ พุ่มพลอย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภาศิริ ใจผ่อง อาจารย์ ดร.พิชญา เหลืองรัตนเจริญ นางสาวกัณฑรีรัตน์ ศรีเบญจมาศ อาจารย์ปรัชญาไชย แช่มช้อย อาจารย์กานดิศ ศิริสานต์
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
พัฒนาและหาแนวทางส่งเสริมความรู้แบบมีส่วนร่วมให้กับเกษตรกร เรื่อง เกษตรกรรมปลอดภัยตามหลักการเกษตรพอเพียงอย่างยั่งยืน
คำสำคัญ
การส่งเสริมความรู้แบบมีส่วนร่วม, เกษตรกรรมปลอดภัยและยั่งยืน, เกษตรพอเพียง,Knowledge promoted participation, Agriculture safety and sustainable, Sufficiency agriculture principle
บทคัดย่อย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวทางส่งเสริมความรู้แบบมีส่วนร่วมกับเกษตรกร เรื่อง เกษตรกรรมปลอดภัยตามหลักการเกษตรพอเพียงอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย (1) การศึกษาความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร (2) แนวทางการแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินของเกษตรกร (3) แนวทางการลดต้นทุนการทำนาและการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรของเกษตรกร และ (4) การพัฒนาคุณภาพชีวิตบนฐานเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน และสู่ความพอเพียงรูปแบบครัวเรือน (Family model) ของชุมชน จากเกษตรกร 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ พิจิตร แพร่ เลย ชัยนาท เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร อุทัยธานี สุโขทัย และพิษณุโลก จำนวน 14 พื้นที่ โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ทำการรวบรวมและวิเคราะห์มูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมี การลดต้นทุนการทำนา และการพัฒนาให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีและปลอดภัย ลดปัญหาหนี้สิน โดยการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงแบบการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในชุมชนร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลในแต่ละพื้นที่
เอกสารงานวิจัย
  1. ชุดโครงการเกษตร

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ