ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การศึกษาแนวทางการลดปัญหาแมลงศัตรูพืชในนาข้าว พื้นที่ตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท
The Guidelines for Reducing Insect Pests Problem in Rice farm of Area Taluk Sub-district, Sapphaya District, Chai Nat Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : นางสาวปิยวดี น้อยน้ำใส
ผู้ร่วมวิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาวดี แหยมคง อาจารย์พัทธนันท์ โกธรรม Dr. Tuan Nguyen Ngoc ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภาศิริ ใจผ่อง
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
เพื่อหาแนวทางการลดปัญหาแมลงศัตรูพืชในนาข้าว พื้นที่ตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท
คำสำคัญ
แมลงศัตรูพืช, นาข้าว, จังหวัดชัยนาท,Insect Pests, Rice Farm, Chai Nat Province
บทคัดย่อย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาแนวทางการลดปัญหาแมลงศัตรูพืชในนาข้าว พื้นที่ตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท เก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 62) อายุเฉลี่ย 45.20 ปี ประกอบอาชีพโดยการทำนามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 10.50 ปี และส่วนใหญ่ปลูกข้าวชนิด กข49 และ กข41 มีข้าวหอมมะลิเป็นส่วนน้อย มีพื้นที่ในการทำนาปลูกข้าวมี ค่าเฉลี่ยอยู่ ที่ 25.60 ไร่ ต่อครัว เรือน ส่วนใหญ่ มีแหล่ง เงินทุนจากการกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ร้อยละ 87) เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในนาข้าวจากเพื่อนบ้าน/บุคคลที่รู้จักภายนอก (ร้อยละ 43) รวมไปถึงเกษตรกรที่ปลูกข้าวมีความรู้เกี่ยวกับแมลงศัตรูพืชและการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชในนาข้าวอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 73.33) เกษตรกรมีส่วนร่วมของเกษตรกรต่อการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชในนาข้าวร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลอยู่ในระดับมากเฉลี่ยอยู่ที่ (X= 4.36) ซึ่งผลการวิจัยที่ได้นี้นำไปเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และแนวทางการลดปัญหาการแพร่ระบาดของแมลงศั ตรูพืชในนาข้าวของเกษตรกรของเกษตรกร คือ การจัดการศัตรูข้าวด้วยวิธีผสมผสาน เป็นวิธีการรวมเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้เพื่อควบคุมประชากร (จำนวน) ของศัตรูข้าว ให้ลดน้อยลงด้วยวิธีการป้องกัน ใช้พันธุ์ ต้านทาน การเขตกรรมการทำหมันแมลง ใช้สารดึงดูดแมลง การใช้ชีววิธีโดยส่งเสริมประสิทธิภาพของสิ่งมีชีวิตที่เป็นศัตรูของศัตรูข้าวอีกทีหนึ่ง และท้ายที่สุด อาจต้องใช้ สารเคมีป้องกันกำจัดตามความจำเป็น ซึ่งจะต้องใช้ตามกรรมวิธีที่ถูกต้อง โดยมีเพิ่มการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับพื้นที่และชุมชน และการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ด้านชนิดของแมลงศัตรูพืชในนาข้าว พฤติกรรมของเกษตรกรในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชในนาข้าว และการในการป้องกันและลดการแพร่ระบาดแมลงศัตรูข้าวอย่างถูกวิธี และลดการใช้สารเคมีในการเกษตร เพื่อชีวิตการเป็นอยู่ด้านสุขภาพที่ดีขึ้น ด้านผลผลิตที่สูงขึ้น ลดค่าใช้จ่ายจากการซื้อสารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืชในนาข้าวของคนในพื้นที่อย่างยั่งยืน
เอกสารงานวิจัย
  1. แนวทางการลดปัญหาแมลงศัตรูพืชในนาข้าว พื้นที่ตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท
  2. ปก
  3. บทคัดย่อ
  4. สารบัญ
  5. บทที่ 1
  6. บทที่ 2
  7. บทที่ 3
  8. บทที่ 4
  9. บทที่ 5
  10. บรรณานุกรม
  11. ภาคผนวก
  12. ประวัติผู้วิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ