ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การศึกษาพฤติกรรมและแนวทางการจัดการขยะเปลือกกล้วยเพื่อใช้เป็นต้นแบบการจัดการขยะอย่างยั่งยืนของชุมชนหนองตูม อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย
The study of behavior and approach to manage banana peel waste for using as a sustainable waste management model in Nong Tum community, Kongkrilas District, Sukhothai Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ชัชวินทร์ นวลศรี
ผู้ร่วมวิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤช ศรีละออ อาจารย์ปุณณดา ทะรังศรี
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาพฤติกรรม ปัญหา และความต้องการในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของพื้นที่อบต.หนองตูม อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย 2) เพื่อศึกษาปริมาณขยะเปลือกกล้วย ผลกระทบของชุมชน วิธีการจัดการ และร่วมหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากขยะเปลือกกล้วยในชุมชน 3) เพื่อนำแนวทางการใช้ประโยชน์จากขยะเปลือกกล้วยมาใช้เป็นต้นแบบในการจัดการขยะอย่างยั่งยืนของชุมชน
คำสำคัญ
การจัดการขยะ,ขยะ,สุโขทัย,พฤติกรรมการจัดการขยะ,เปลือกกล้วย,การมีส่วนร่วม
บทคัดย่อย
ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยเป็นสินค้าที่สำคัญของชุมชนตำบลหนองตูม อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย กิจกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วยก่อให้เกิดขยะเปลือกกล้วยในปริมาณมากกว่า 16 ตันต่อวัน ซึ่งเปลือกกล้วยส่วนมากยังไม่มีการจัดการอย่างถูกวิธี และอาจก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาพฤติกรรม ปัญหา และความต้องการในการจัดการขยะจากเปลือกกล้วยและขยะครัวเรือน มีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วยในตำบลหนองตูม จำนวน 38 ราย ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมการจัดการขยะเปลือกกล้วยและขยะอินทรีย์ของประชาชนคือการนำไปทำปุ๋ยหมัก แต่ยังไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม เนื่องจากเป็นลักษณะการกองทิ้งไว้บริเวณที่อยู่อาศัย ซึ่งประชาชนควรได้รับความรู้ในด้านการทำปุ๋ยหมักอย่างถูกวิธีต่อไป ในด้านพฤติกรรมการคัดแยกขยะ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีการปฏิบัติเป็นประจำ โดยประชาชนมีทั้งความรู้ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ในประเด็นการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการวางแผนแก้ไขปัญหา และการประเมินผลการปฏิบัติงานของอบต. ประชาชนยังมีส่วนร่วมอยู่ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด นอกจากนี้ ในด้านความต้องการของประชาชนเกี่ยวกับการจัดการขยะ พบว่าประชาชนมีความต้องการให้อบต. เพิ่มจำนวนถังขยะแบบแยกประเภท แสดงให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการคัดแยกประเภทของขยะเป็นอย่างดี ดังนั้น ประเด็นสำคัญที่สามารถนำไปใช้ในการร่างนโยบายเพื่อพัฒนาด้านการจัดการขยะจึงควรเป็นเรื่องของการจัดการขยะเปลือกกล้วยอย่างถูกวิธี และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในขั้นตอนการวางแผนแก้ไขปัญหาและการประเมินผลการปฏิบัติงานของอบต. นอกจากนี้ ประชาชนยังได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เปลือกกล้วย ได้แก่ การทำปุ๋ยหมัก การทำถ่านชีวมวลอัดแท่ง การทำอาหารสัตว์ และการผลิตแก๊สชีวภาพจากเปลือกกล้วย ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ที่กล่าวมาให้กับชุมชน ทำให้ชุมชนสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการแก้ปัญหาได้
เอกสารงานวิจัย
  1. การศึกษาพฤติกรรมและแนวทางการจัดการขยะเปลือกกล้วยเพื่อใช้เป็นต้นแบบการจัดการขยะอย่างยั่งยืนของชุมชนหนองตูม อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ