$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2561
การพัฒนารูปแบบการสร้างมูลค่าเพิ่มขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเจ็ดต้น อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
การศึกษาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบการสร้างมูลค่าเพิ่มขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเจ็ดต้น อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ตำบลหัวม่วงเจ็ดต้น อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ 200 กลุ่มตัวอย่าง และผู้นำชุมชน ผู้บริหารชุมชน และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 3 คน ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ในภาพรวมทั้งหมดเป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ส่วนใหญ่มีสถานะสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขาย/ทำธุรกิจส่วนตัว มีรายได้ต่อเดือน20,001-25,000 บาท ด้านการจัดการขยะของชุมชน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีส่วนช่วยในการลดปริมาณขยะในครัวเรือนโดยการไม่สร้างขยะให้เพิ่มขึ้น เป็นผู้ที่มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้งส่วนใหญ่แยกขยะที่ขายได้และไม่ได้ก่อนทิ้ง ใช้วิธีการจัดการขยะในครัวเรือนโดยการเผา ภายในครัวเรือนส่วนใหญ่ทิ้งขยะประเภทผัก ผลไม้ และเศษอาหาร ส่วนใหญ่มีความต้องการได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ/น้ำหมักชีวภาพจากขยะเปียก พฤติกรรมการจัดการขยะในครัวเรือนของชุมชนภาพรวม ชุมชนมีการจัดการขยะในครัวเรือนเป็นบางครั้ง การมีส่วนร่วมของ ประชาชนด้านการจัดการขยะ ภาพรวมชุมชนมีส่วนร่วมในด้านการจัดการขยะอยู่ในระดับมาก และความต้องการการสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะ ประชาชนภายในชุมชนมีการการนำขยะมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดความยั่งยืน รูปแบบการสร้างมูลค่าจากขยะตามความต้องการของประชาชนในชุมชนมีความต้องการ การนำขยะเปียกไปสร้างเป็นปุ๋ยอินทรีย์ การนำขยะแห้งสะอาดไปสู่การสร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าและจำหน่ายได้ การจัดตั้งธนาคารขยะ/สหกรณ์ขยะ และผลิตเป็นพลังงานทดแทน ด้วยการทำเป็นพลังงานเชื้อเพลิงอัดแท่ง