$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2560
รูปแบบการสร้างผู้ประกอบการดาเนินกิจการเพื่อสังคม สาหรับหนุนเสริมระบบบริหารจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ อบต.สกาด อ.ปัว จ.น่าน
ผลการวิจัยจาแนกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นการศึกษาบริบทของการจัดการขยะของ อบต.สกาด เริ่มเข้าสู่กระบวนการจัดการขยะโดยนโยบายจังหวัดน่าน จะปิดบ่อขยะที่ไม่ถูกสุขลักษณะและการเพิ่มขึ้นของขยะที่ลงสู่บ่อ จึงต้องหาแนวทางในการจัดการขยะจากต้นทาง คือ ครัวเรือน อบต.มีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ อสม. และชาวบ้านเรื่องการจัดการขยะทั้ง 4 ประเภท แต่ไม่ประสบความสาเร็จ เนื่องจากขาดความร่วมมือ จานวนขยะรีไซเคิลมีน้อย และไม่มีผู้ประกอบการมารับซื้อขยะรีไซเคิล ทาให้ประชาชนขาดกาลังใจในการคัดแยก ดังนั้น อบต.จึงใช้วิธีการจัดการขยะแบบจ้างเหมาโดยคนในชุมชน ที่มีคุณลักษณะของผู้ประกอบการขยะรีไซเคิล โดยจะคัดแยกขยะก่อนลงสู่บ่อขยะ ส่วนที่สอง สร้างผู้ประกอบการรับซื้อขยะรายใหม่ ผู้วิจัยได้นาเสนอ คุณลักษณะของผู้ประกอบการรับซื้อขยะรีไซเคิล มีคุณลักษณะของผู้ประกอบธุรกิจ มีความขยัน อดทน ประหยัด มีจิตอาสา ต้องการช่วยเหลือชุมชน มีทัศนคติที่ดีในอาชีพ มีสถานที่ประกอบธุรกิจ มีหลักการค้าที่เป็นธรรม กลุ่มสนทนแนะนา คุณปวง สุมทุม ซึ่งมีความสนใจในการประกอบธุรกิจรับซื้อขยะรีไซเคิล ทัศนคติ เป็นคนรุ่นใหม่ที่มองเรื่องการรับซื้อขยะรีไซเคิลนั้น เป็นการประกอบอาชีพที่สุจริต สามารถสร้างธุรกิจจนมีฐานะเป็นที่ยอมรับของสังคม จึงเป็นจุดเริ่มต้นของความสนใจ ด้วย ผู้วิจัยได้แนะนาวิธีการเพิ่มมูลค่าของการคัดแยกขยะรีไซเคิล เช่น พัดลม หากขายเป็นชิ้น จะได้ราคาเหมารวม แต่หากมีการคัดแยก มอเตอร์ ใบพัด เหล็ก ลวดทองแดง แยกขายจะได้ราคาที่ดีกว่า แนะนาเรื่องการทาบัญชีครัวเรือน เพื่อจะได้ทราบกาไร ขาดทุน ต้นทุน ของการทาธุรกิจ เพื่อจะสามารถวางแผนการทาธุรกิจ ผู้ที่ทางานช่วยเหลือสังคม เช่น อสม. ต้องกระทบกับคนหมู่มาก ผู้ประกอบการรับซื้อขยะรีไซเคิลด้วยเช่นกัน ถือเป็นอาชีพที่ช่วยเหลือสังคม อยู่ในกระบวนการจัดการขยะ ดังนั้น ทาง อบต. หรือหน่วยงานราชการ ควรมีการยกย่อง เชิดชู ว่าเป็นอาชีพที่ช่วยเหลือสังคม เพื่อให้ผู้ประกอบการมีกาลังใจในการประกอบอาชีพ