$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
2560
การจัดระบบบริหารจัดการเพื่อผลิตลางสาดอินทรีย์เชิงพาณิชย์
ลางสาดเป็นไม้ลผลอัตลักษณ์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ลดจำนวนลงทุกปี เนื่องจากราคาตกต่ำและเกษตรกรหันไปปลูกลองกองมากขึ้น การจะทำให้ลางสาดเป็นไม้ผลที่มีคุณค่าในเชิงอนุรักษ์และเชิงเศรษฐกิจมีความจำเป็นต้องผลักดันลางสาดเข้าสู่ตลาดของสินค้าเกษตรอินทรีย์เพื่อให้ได้ราคาสูงขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงมีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร พีจีเอส เลมอนฟาร์ม อุตรดิตถ์ โดยใช้วิธีการรับรองคุณภาพแบบมีส่วนร่วมโดยหน่วยรับรององค์กรธุรกิจเพื่อสังคมเลมอนฟาร์ม (Lemon Farm ORGANIC-PGS : LF-PGS) จากการวิจัยโดยการวิเคราะห์เนื้อหาผ่านการดำเนินกิจกรรมของหน่วยรับรอง สามารถสรุปคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของเกษตรกรที่สามารถทำการเกษตรตามระบบเกษตรธรรมชาติหรือเกษตรอินทรีย์ ได้ดังนี้ 1) เป็นกลุ่มเกษตรกรที่รักลางสาดและรู้ถึงคุณค่าของลางสาด, 2) ดูแลสวนลางสาดด้วยตนเอง, 3) เอาใจใส่และอยากฟื้นฟูลางสาด, 4) รู้และเข้าใจกระบวนการผลิตลางสาด, 5) มีความซื่อสัตย์ เชื่อมั่นและเคารพซึ่งกันและกัน และ 6) มีความรับผิดชอบตามข้อตกลงร่วมและสามารถดำเนินการตามเงื่อนไขได้ นอกจากนี้เพื่อให้ผลผลิตลางสาดออกอย่างต่อเนื่องทุกปี เกษตรกรควรมีการจัดการดินและต้นลางสาดขั้นต่ำหรือตามความจำเป็น ดังนี้ 1) การจัดการดินตามความจำเป็น เช่น การใส่วัสดุปูน เพื่อปรับภาพดินและป้องกันโรคพืช 2) ควรตัดแต่งกิ่ง และ 3) ปลิดช่อดอกออกประมาณ 60-70% และปลิดใบอ่อนในระยะ 2-3 สัปดาห์หลังติดช่อดอก
ผลิตลางสาดอินทรีย์เชิงพาณิชย์,การจัดระบบบริหารจัดการ