$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
2560
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการจัดการตนเองสำหรับเกษตรกรในกลไกตลาดทุเรียนหลงลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการจัดการตนเองสำหรับเกษตรกรในกลไกตลาดทุเรียนหลงลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์ และเพื่อประยุกต์ใช้ระบบฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการจัดการตนเองสำหรับเกษตรกรในกลไกตลาดทุเรียนหลงลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยวิธีการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในการรวบรวมข้อมูล พัฒนาระบบฐานข้อมูลเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนหลงลับแล การรวมกลุ่มเครือข่าย ผลผลิตทุเรียนหลงลับแล ช่องทางตลาดสำหรับทุเรียนหลงลับแล และข้อมูลการติดต่อสื่อสารระหว่างเกษตรกร เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรที่สามารถจัดการตนเองในระบบธุรกิจเกษตร การสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและองค์ความรู้ ภายใต้แนวคิดในการสร้างความมั่นคงทางด้านเกษตรและอาหารของจังหวัดอุตรดิตถ์ ผลการศึกษาพบว่าผลการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดการตนเองของเกษตรกรในกลไกตลาดทุเรียนหลงลับแล สามารถแยกการพัฒนาเป็นโปรแกรมย่อย 5 โมดูลคือ โมดูลบริหารจัดการข้อมูลสมาชิกและเครือข่าย โมดูลจัดการพื้นที่แปลงเพาะปลูกทุเรียน โมดูลจัดการข้อมูลผลผลิตทุเรียนรายปี โมดูลสนับสนุนการตัดสินใจ และโมดูลจัดการข้อมูลสำหรับผู้ดูแลระบบ โดยแบ่งกลุ่มผู้ใช้ได้ 4 กลุ่มคือ ผู้ดูแลระบบ ผู้บริหารกลุ่ม เกษตรกร และบุคคลทั่วไป ผลการพัฒนาระบบโดยรวมมีความสมบูรณ์เท่ากับร้อยละ 94 อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.71 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.60 สามารถนำระบบไปประยุกต์ใช้งานได้ดีมีความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย มีข้อจำกัดด้านข้อมูลนำเข้าที่ยังไม่มีความเที่ยงตรงจากการรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากเกษตรกร ส่วนด้านการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศโดยการถ่ายทอดเทคโนโลยี จัดอบรมการใช้ระบบ และทดลองบันทึกข้อมูลนำเข้าระบบ มีผลประเมินความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.51 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.75 ส่วนมากมีความคิดเห็นในทิศทางเดียวกัน ระบบสารสนเทศมีจุดเด่นในการส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มเกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม เพราะสามารถบริหารจัดการสมาชิกภายในกลุ่ม หรือจัดการข้อมูลด้วยเกษตรกรเองได้อย่างอิสระ ส่วนระบบช่วยประกอบการตัดสินใจด้านการผลิตและการจำหน่ายทุเรียนหลงลับแลยังคงต้องพัฒนาด้านการนำเข้าข้อมูลจากการประมาณการเพราะข้อจำกัดด้านการบันทึกและการจดจำข้อมูลของเกษตรกรทำให้ข้อมูลไม่สมบูรณ์ทั้งหมด
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดการตนเอง,ทุเรียนหลงลับแล,กลไกลการตลาดทุเรียน,ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ