$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
2560
ผลกระทบระบบการปลูกทุเรียนหลงลับแลเชิงพาณิชย์และระบบวนเกษตร ต่อสมดุลทางนิเวศวิทยาโดยใช้สมดุลคาร์บอนและระบบสิ่งแวดล้อม เป็นดัชนีชี้วัด
ผลกระทบระบบการปลูกทุเรียนหลงลับแลเชิงพาณิชย์และระบบวนเกษตรต่อสมดุลทางนิเวศวิทยาโดยใช้สมดุลคาร์บอนและระบบสิ่งแวดล้อมเป็นดัชนีชี้วัดซึ่งทำการศึกษาในตำบลฝายหลวง และ ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล และ ตำบล บ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ช่วงเดือน พฤษภาคม 2560 – พฤษภาคม 2561 จากการศึกษาพบว่า จังหวัดอุตรดิตถ์ มีระบบการทำวนเกษตรมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานหลังจากระบบการทำไร่แบบไร่หมุนเวียน (Shifting Cultivation) ซึ่งเป็นรูปแบบของการทำไร่ที่พบเป็นได้มากในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศ ซึ่งในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ การทำวนเกษตรในรูปแบบ Home Gardens เริ่มมีการทำมามากกว่า 200 ปี (FAO Regional Office for Asia and the Pacific, 1995) โดยเริ่มมีวิวัฒนาการการทำระบบวนเกษตรที่ใกล้เคียงกับ จังหวัด ปราจีนบุรี จันทบุรี นครศรีธรรมราช ตรัง และ พัทลุง มีการสะสมธาตุอาหารในดินเฉลี่ยพบว่าค่าเฉลี่ยของแปลงระบบวนเกษตร คือ Total Nitrogen, Available Phosphorus, Potassium, Organic Matter และ Organic Carbon มีค่าสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับแปลงระบบเกษตรเชิงพาณิชย์แต่ไม่แตกต่างกันมากนัก โดยเมื่อคิดมูลค่าธาตุอาหารในดินเฉลี่ยพบว่าแปลงระบบวนเกษตร เท่ากับ 341,923.11 บาท/ไร่ มีสังคมพืชในระบบวนเกษตรพบว่าลักษณะของสังคมพืชของพันธุ์ไม้ป่าในระบบวนเกษตรสามารถอธิบายได้ดังนี้จากการวางแปลงสุ่มตัวอย่าง 12 แปลงในระบบวนเกษตรพบว่ามีจำนวนชนิดพันธุ์ไม้ผันแปรระหว่าง 10-35 ชนิดต่อไร่ โดยมีจำนวนชนิดพันธุ์ไม้ทั้งหมด 74 ชนิดพันธุ์ ใน 33 วงศ์ 69 สกุล มีปริมาณการสะสมคาร์บอนในมวลชีวภาพเฉลี่ยของระบบวนเกษตรและการทำเกษตรเชิงพาณิชย์ ในการปลูกทุเรียนพบว่า การสะสมคาร์บอนรวมระบบวนเกษตรมีค่า 8,724,252.97 กิโลกรัมคาร์บอนต่อไร่ จากการศึกษาการประเมินรายได้จากการชดเชยคาร์บอนในระบบเกษตรเชิงพาณิชย์ จังหวัดอุตรดิตถ์แบบตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจ (Voluntary carbon market) มีมูลค่ารวม 14,340.34 บาทต่อไร่ และ พบว่าปัจจัยภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตทุเรียนคือ น้ำท่วมดินโคลนถล่ม, ภัยแล้ง และ ไฟป่า โดย การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลผลกระทบต่อการผลิตทุเรียนบ้างแต่เกษตรกรยังไม่เข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงและยังจับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีผลกระทบต่อการพัฒนาการของทุเรียนในขั้นตอนต่าง ๆ เช่น มีผลกระทบต่อแมลงและทำให้เกิดมีแมลงใหม่ๆ และ แปลกๆ เกิดขึ้น โดยเกษตรกรมีความสามารถในการรับมือกับเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดจากภัยแล้งได้มากกว่าการเกิดน้ำท่วมดินโคลนถล่ม สรุปว่าการแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศในจังหวัดอุตรดิตถ์ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ในปัจจุบันยัง ไม่สามารถจับทิศทางการเปลี่ยนแปลงได้ทั้งระดับความรุนแรง ความถี่ และระยะเวลา ทำให้การผลิตทุเรียนใน จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ผลกระทบระบบการปลูกทุเรียนหลงลับแลเชิงพาณิชย์