$endsection URU Research

บทความวิจัย/วิชาการ

Thai-Journal Citation Index (TCI)
วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
2567
ผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกายตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่มีต่อความฉลาดรู้ทางกายสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา
The Effect of a Physical Activity Model Based on the Blended Learning Concept on Physical Literacy for Physical Education Students
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกายตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่มีต่อความฉลาดรู้ทางกายสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความฉลาดรู้ทางกายของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1 - 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 60 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ นักศึกษากลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน ที่ได้รับรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกายตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง และนักศึกษากลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน ไม่ได้รับรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดกิจกรรมทางกายตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบและประเมินความฉลาดรู้ทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการทดสอบค่าที กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมทางกายตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน สามารถทำให้ความฉลาดรู้ทางกายของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาสูงขึ้น ได้ 2) ค่าเฉลี่ยความฉลาดรู้ทางกายของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มีดังนี้ 2.1) ความฉลาดรู้ทางกายด้านความรู้ความเข้าใจ (1) ค่าเฉลี่ยความฉลาดรู้ทางกายด้านความรู้ความเข้าใจของนักศึกษากลุ่มทดลอง หลังได้รับรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกาย (¯x = 50.20, S.D.= 3.11) สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง (¯x = 30.37, S.D.= 4.66) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ค่าเฉลี่ยความฉลาดรู้ทางกายด้านความรู้ความเข้าใจของนักศึกษากลุ่มทดลอง หลังได้รับรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกาย (¯x = 50.20, S.D.= 3.11) สูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุม (¯x = 43.17, S.D.= 2.94) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ความฉลาดรู้ทางกายด้านสมรรถนะทางการเคลื่อนไหว (1) ค่าเฉลี่ยความฉลาดรู้ทางกายด้านสมรรถนะทางการเคลื่อนไหวของนักศึกษากลุ่มทดลอง หลังได้รับรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกาย (¯x = 12.67, S.D.= 1.17) สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง (¯x = 7.87, S.D.= 1.41) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ค่าเฉลี่ยความฉลาดรู้ทางกายด้านสมรรถนะทางการเคลื่อนไหวของนักศึกษากลุ่มทดลอง หลังได้รับรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกาย (¯x = 12.67, S.D.= 1.17) สูงกว่าของนักศึกษากลุ่มควบคุม (¯x = 9.67, S.D.= 1.58) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3) ความฉลาดรู้ทางกายด้านแรงจูงใจและความเชื่อมั่นของนักศึกษากลุ่มทดลอง หลังได้รับรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกายตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x = 4.70, S.D.= 10.15)
รูปแบบการจัดกิจกรรมทางกาย ,แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ,ความฉลาดรู้ทางกาย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru