$endsection URU Research

บทความวิจัย/วิชาการ

Thai-Journal Citation Index (TCI)
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
2567
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้พลศึกษาสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา
Development of Training Curriculum to Enhance Innovation and Technology Ability in Physical Education Learning Management for Physical Education Students
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้พลศึกษาสาหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ดาเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1) ศึกษาความต้องการจาเป็นในการเสริมสร้างความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้พลศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1–4 มหาวิทยาลัยในเขตภาคเหนือ 13 แห่ง จานวน 432 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ระยะที่ 2) สร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้พลศึกษา และจัดสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ จานวน 8 คน เพื่อประเมินคุณภาพหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร ก่อนนาหลักสูตรไปใช้ในการฝึกอบรมจริง และ ระยะที่ 3) ทดลองและศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม และการประเมินความสามารถเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้พลศึกษาในด้านความรู้ คุณลักษณะ ทักษะการปฏิบัติ และประเมินความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จานวน 30 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า 1. การเสริมสร้างความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้พลศึกษา มีความต้องการจาเป็นในระดับมาก (PNI Modified เท่ากับ 0.300) 2. ผลการสร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมมีองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ (1) หลักการของหลักสูตร (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหาสาระ (4) กิจกรรมและวิธีที่ใช้ในการฝึกอบรม (5) สื่อที่ใช้ในหลักสูตร และ (6) การวัดประเมินผลหลักสูตร และมีเอกสารประกอบหลักสูตร ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ (1) คู่มือแนวทางการใช้หลักสูตรฝึกอบรม และ (2) แผนการจัดกิจกรรมฝึกอบรม ผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมและเอกสารประกอบหลักสูตร โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความถูกต้องเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.61, S.D. = 0.42) มีความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.55, S.D. = 0.45) 3. นักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษามีคะแนนความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแต่ละด้าน ดังนี้ 3.1 ด้านความรู้หลังการฝึกอบรม (x = 49.80, S.D. = 3.10) สูงกว่าก่อนการฝึกอบรม (x = 28.80, S.D. = 7.35) อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2 ด้านคุณลักษณะ อยู่ในระดับดี (x = 2.72, S.D. = 0.43) 3.3 ด้านทักษะการปฏิบัติ อยู่ในระดับดี (x = 2.34, S.D. = 0.57) 3.4 ด้านความพึงพอใจที่มีต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.80, S.D. = 0.41)
ารพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม,ความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้พลศึกษา,นักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/264731/176719