$endsection URU Research

รายงานวิจัย

เกษตรศาสตร์
แหล่งทุนองค์ภายนอกอื่นๆ
2558
การพัฒนาระบบฐานเมล็ดพันธ์ท้องถิ่นของเกษตรกร ตำบลพระพุทธบาทเชียงคาน อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
Development of the database of local farmers, seed The municipality Buddha Chiang Kien Nan Chiang Klang district.
ความเป็นมา ในปัจจุบันวิถีชีวิตของเกษตรกรในการทำการเกษตรกรรม ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เนื่องด้วยสภาพสังคม ภูมิประเทศ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไป การปลูกพืชในท้องถิ่นนิยมซื้อเมล็ดพันธุ์พืชจากท้องตลาด เมื่อนำมาปลูกในพื้นที่ทำให้พืชไม่แข็งแรงและความสามารถในการต้านทานโรคต่ำ ส่งผลให้เกษตรกรต้องใช้สารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืช และใช้สารเคมีเพื่อต้านทานโรคมากขึ้น จากการศึกษาปัญหาการซื้อเมล็ดพันธุ์จากท้องตลาด โดยไม่ใช้เมล็ดพันธุ์พืชที่มีในท้องถิ่นสำหรับการเพาะปลูก ในพื้นที่เทศบาลตำบลพระพุทธบาทเชียงคาน อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน พบสองสาเหตุหลัก ๆ ในพี้นที่ คือ การที่เกษตรกรไม่ได้ทำการอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์พืชในท้องถิ่น และ ไม่ทราบแหล่งของเมล็ดพันธุ์ที่มีในท้องถิ่น จึงขาดเมล็ดพันธุ์ที่จะนำมาเพาะปลูก รวมทั้งไม่ทราบวิธีการคัดเลือก การจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ ตลอดจนกระบวนการเก็บรักษา ทำให้ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากท้องตลาดมาทุกครั้งในการเพาะปลูก ทีมวิจัยจึงเล็งเห็นว่าหากเกษตรกรมีแหล่งข้อมูลของเมล็ดพันธุ์พืชในท้องถิ่น รวมถึงทราบกระบวนการในการใช้ประโยชน์จากเมล็ดพันธุ์ จะช่วยลดปัญหาข้างต้นได้ และปัจจุบันเป็นยุคของการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการเผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้ต่างๆ ดังนั้นทีมวิจัยจึงจะได้พัฒนาฐานข้อมูลเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่นของเกษตรกร โดยให้นำเสนอในรูปแบบเว็บไซต์การสร้างการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และเผยแพร่เมล็ดพันธุ์ท้องถิ่นของเกษตรกรขึ้น เพื่อเป็นแหล่งสืบค้นข้อมูลและเผยแพร่ข้อมูลเมล็ดพันธุ์ให้กับเกษตรกร กล่าวคือเกษตรกรสามารถทราบแหล่งที่อยู่ของเมล็ดพันธุ์ที่มีในแต่ละท้องถิ่น รวมถึงวิธีการคัดเลือกและจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ ตลอดจนการเก็บรักษา การใช้ประโยชน์ เพื่อให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้เกษตรปลอดภัยร่วมกัน สู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน
เมล็ดพันธ์ุข้าว