$endsection URU Research

รายงานวิจัย

วิทยาศาสตร์
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
2564
ผลของการฝึกในภาวะพร่องออกซิเจนและเสริมด้วยเลือดจระเข้ต่อความสามารถ การใช้ออกซิเจนและตัวแปรทางด้านโลหิตวิทยาในนักกีฬา
Effect of hypoxic training and crocodile blood supplementation on aerobic capacity and hematological variables in athlete
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมอาหารเลือดจระเข้ชนิดแคปซูลควบคู่กับการออกกำลังกายในภาวะพร่องออกซิเจนที่มีต่อความสามารถการใช้ออกซิเจนและตัวแปรทางด้านโลหิตวิทยาในนักกีฬาฟุตบอล กลุ่มอาสาสมัครเป็นนักกีฬาฟุตบอล เพศชาย อายุเฉลี่ย 18-25 ปี จำนวน 39 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ใช้วิธีการสุ่มในการจัดกลุ่มอาสาสมัครเพื่อเข้าแต่ละกลุ่ม โดยที่ทุกกลุ่มได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายบนลู่วิ่งกลที่ความเข้มข้น 70-75% อัตราการเต้นชีพจรสูงสุด (HRmax) เป็นระยะเวลา 7 สัปดาห์ โดยกลุ่มที่ 1 คือกลุ่มควบคุมได้รับแคปซูลหลอก กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ได้รับประทานเสริมอาหารเลือดจระเข้ และกลุ่มที่ 3 กลุ่มที่รับประทานเสริมอาหารเลือดจระเข้ควบคู่การฝึกภาวะพร่องออกซิเจน FiO2 = 16.3% ซึ่งประมาณเลือดจระเข้ที่ได้รับ จำนวน 1 แคปซูลต่อวัน (250 มิลลิกรัม) เก็บข้อมูลตัวแปรทางโลหิตวิทยาและความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2max) ด้วยวิธีการวิ่งบนลู่กลโดยใช้บรูซโปรโตคอล (Bruce protocol) ผลของการวิจัย พบว่า ระดับอีริโทรโพอิติน (EPO) ของกลุ่มที่ได้รับประทานเสริมอาหารเลือดจระเข้ความคู่กับการฝึกภาวะพร่องออกซิเจน มีค่าเท่ากับ 14.40±2.41 mU/mL เพิ่มขึ้นมากกว่า กลุ่มควบคุม มีค่าเท่ากับ 12.01±2.25 mIU/mL และกลุ่มที่รับประทานเสริมอาหารเลือดจระเข้ มีค่าเท่ากับ 11.50±2.08 mIU/mL หลังโปรแกรมการฝึกความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2max) เพิ่มขึ้นในกลุ่มรับประทานเสริมอาหารเลือดจระเข้ควบคู่การฝึกภาวะพร่องออกซิเจน (H-Sup) มีค่าเท่ากับ 45.63±4.75 และ 49.33±5.81 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อนาที และกลุ่มที่ได้รับประทานเสริมอาหารเลือดจระเข้ (Sup) มีค่าเท่ากับ 44.59±4.75 และ 47.30±5.68 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อนาที ส่วนในกลุ่มควบคุม (CT) ไม่มีความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการฝึก จากข้อมูลที่ปรากฏทำให้สรุปได้ว่า การรับประทานเสริมอาหารด้วยเลือดจระเข้ร่วมกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่อยู่ในภาวะพร่องออกซิเจนขณะ มีแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงทางโลหิตวิทยาโดยเฉพาะการกระตุ้นการหลั่งอีริโทรโพอิติน (EPO) และยังทำให้ค่าสมรรถนะความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2max) เพิ่มขึ้น
ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด, เลือดจระเข้, โลหิตวิทยา