$endsection URU Research

รายงานวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2560
การวิเคราะห์พื้นที่ฝังกลบขยะตามศักยภาพเชิงพื้นที่เเละปริมาณจากต้นทางอบตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
การวิเคราะห์พื้นที่ฝังกลบขยะตามศักยภาพเชิงพื้นที่และปริมาณขยะจากต้นทางองค์การบริหารส่วนตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจการบริหารจัดการขยะโดยชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่แหล่งฝังกลบขยะองค์การบริหารส่วนตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่านที่เหมาะสม เพื่อสร้างความตระหนักสาหรับการขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยคู่ความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่ชุมชนจัดการเรียนรู้โดยใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่ฝังกลบขยะมูลฝอยของกรมควบคุมมลพิษ ปี พ.ศ. 2552 เป็นหลัก ทั้งหมด 13 ตัวแปร และการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่แหล่งฝังกลบขยะที่เหมาะสมด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) โดยวิธีการ Weight-Rating ร่วมกับการตรวจสอบพื้นที่ศักยภาพจากการลงพื้นที่จริงร่วมกับการเปิดเวทีประชาคมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและตัวแทนคนในชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดน่านจำนวน 196 คน ผลการศึกษาพบว่า ในพื้นที่ขององค์การบริหารตำบลสถาน ที่อยู่ในอำเภอปัว มีพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการทำบ่อฝังกลบขยะ 12,556 ไร่ ซึ่งถ้าจังหวัดน่านยังมีขยะในปริมาณปัจจุบัน พื้นที่ที่เหมาะสมทาบ่อฝังกลบขยะที่อาเภอปัวจะเต็มภายในระยะเวลา 27 ปี เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอปัวเป็นภูเขาส่วนมาก ดังนั้นการบริหารจัดการขยะจึงเป็นการสร้างบ่อฝังกลบเล็กๆ ภานในครัวเรือนและเผาขยะ ดังนั้นจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวผู้วิจัยได้นาข้อมูล เพื่อใช้ในการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการจัดการขยะ ในระดับครัวเรือนเพื่อเป็นการลดขยะตั้งแต่ต้นทาง โดยข้อมูลดังกล่าวได้ถูกนาใช้สาหรับการขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่ชุมชนจัดการเรียนรู้ โดยคนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตพบลสถานปัวมีการเข้ามาเรียนรู้ในพื้นที่ต้นแบบตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน จากวิธีการสัมภาษณ์และสนทนาแบบเจาะประเด็นของการจัดเก็บปริมาณขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำให้ตัวแทนพื้นที่รับทราบข้อมูลและสร้างความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและพื้นที่ศึกษา โดยตัวแทนของพื้นที่ให้ข้อมูลและแสดงความต้องการใช้ข้อมูลสาหรับนำไปใช้สนับสนุนการจัดการขยะและแหล่งข้อมูลของปริมาณขยะ จากการร่วมมือนี้ทำให้นักวิจัยได้ทราบถึงรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งตัวแทนของพื้นที่ร่วมให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการออกแบบสารวจข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและได้นำข้อมูลดังกล่าวไปเป็นข้อมูลนำเข้าในการสร้างกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนเพื่อขับเคลื่อนเรื่องขยะจากปริมาณขยะลดเหลือ 4.83 ตัน/วัน
พื้นที่ศักยภาพบ่อฝังกลบขยะ