บทความวิจัย/วิชาการ
Thai-Journal Citation Index (TCI)
วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
2567
ผลของโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์
Effects of a Self-Efficacy and Social Support Program on Foot Care Behaviors among Patients with Type 2 Diabetes Mellitus at Fort Pichai DapHak Hospital, Uttaradit Province
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 36 คน ได้รับโปรแกรมการดูแลเท้าและกลุ่มควบคุม จำนวน 36 คน ระยะดำเนินกิจกรรม 8 สัปดาห์ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล และโปรแกรมการดูแลเท้า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา
การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบใช้สถิติ Paired sample t-test และ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า หลังได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลเท้า การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และแรงสนับสนุนทางสังคมเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนได้รับโปรแกรม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการดูแลเท้า การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลเท้า และแรงสนับสนุนทางสังคมเพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p < 0.05) สรุปได้ว่าโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้า สามารถนำไปส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้เบาหวานชนิดที่ 2 ได้
การรับรู้สมรรถนะแห่งตน,แรงสนับสนุนทางสังคม, พฤติกรรมการดูแลเท้า,เบาหวานชนิดที่2
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/274779/185020
หนึ่งฤทัย แสงทอง, ธนากร ธนวัฒน์, ณิชารีย์ ใจคำวัง. (2567). ผลของโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ; 6(3): 83-98.