บทความวิจัย/วิชาการ
Thai-Journal Citation Index (TCI)
วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
2567
ผลกระทบในทุกมิติจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า การทบทวนแนวทางการจัดโปรแกรมสำหรับการสร้างการรับรู้ถึงอันตรายต่อสุขภาพและการป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในวัยรุ่น.
Impacts in All Dimensions from E-cigarettes Using, Review of Programming Guidelines for Raising Awareness of the Health Hazards and Prevention of Vaping among Teenagers
บุหรี่ไฟฟ้า (E-cigarette) กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ใช้ส่วนใหญ่เชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีความปลอดภัยมากกว่าบุหรี่ธรรมดาในขณะที่ทำให้เกิดการเสพติดน้อยกว่า อีกทั้งยังเชื่อว่าสามารถใช้บุหรี่ไฟฟ้าในการช่วยเลิกบุหรี่ได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสาระเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ผลกระทบของบุหรี่ไฟฟ้าต่อสุขภาพ และการสรุปทบทวนการศึกษาเกี่ยวกับการจัดออกแบบโปรแกรมเพื่อป้องกันหรือเลิกการสูบบุหรี่ไฟฟ้าทั้งในไทยและต่างประเทศในช่วงปี ค.ศ. 2018-2023 โดยข้อค้นพบที่เกี่ยวข้องจากการทบทวนงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่ามีการพัฒนาโปรแกรมป้องกันและเลิกการสูบบุหรี่ไฟฟ้าหลากหลายรูปแบบ โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มนักเรียนมัธยมและนักศึกษา โปรแกรมเหล่านี้ส่วนใหญ่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีจิตสังคม เช่น ทฤษฎีปัญญาทางสังคมและทฤษฎีความสามารถของตนเอง ใช้ระยะเวลาทดลอง 4-8 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าโปรแกรมการป้องกันสามารถลดอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้า เพิ่มระดับความรู้ ความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้า และการรับรู้ความสามารถของตนเองในกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การวิจัยในไทยและต่างประเทศได้แสดงผลลัพธ์เชิงบวกที่สอดคล้องกัน โดยการรณรงค์ป้องกันและเลิกบุหรี่ไฟฟ้ามีผลสำเร็จในการลดความชุกของการสูบบุหรี่และเพิ่มการรับรู้ถึงผลเสียของการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นและเยาวชนอย่างมีประสิทธิภาพ
บุหรี่ไฟฟ้า,วัยรุ่น,ผลกระทบของบุหรี่ไฟฟ้า,การป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjph/article/view/266037/184310
ธนากร ธนวัฒน์. (2567). ผลกระทบในทุกมิติจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า การทบทวนแนวทางการจัดโปรแกรมสำหรับการสร้างการรับรู้ถึงอันตรายต่อสุขภาพและการป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในวัยรุ่น. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ; 7(2): 93-106.