ปีงบประมาณ 2568 (1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568) คะแนน: 3,907 จาก 10,000 คะแนน (39.07%) สถานะ: กำลังดำเนินการ

SI

635

+42%

1,500

EC

568

+27%

2,100

WS

131

+7%

1,800

WR

450

+45%

1,000

TR

748

+42%

1,800

ED

1375

+76%

1,800
นโยบายการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ตามมาตรฐานมหาวิทยาลัยสีเขียว
ผลการประเมินตามเกณฑ์ตัวชี้วัดตามมาตรฐาน UI Green Metric World University Rankings

กรอบแนวคิดและนโยบาย

  1. มหาวิทยาลัยสีเขียว:
    มหาวิทยาลัยกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับบุคลากรและนักศึกษา
  2. UI GreenMetric: ใช้เกณฑ์การประเมิน 6 ด้าน ได้แก่
    (1) ที่ตั้งและโครงสร้างพื้นฐาน, (2) การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, (3) การจัดการของเสีย, (4) การจัดการน้ำ, (5) การขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, และ (6) การศึกษาและการวิจัย
  3. การกำหนดเป้าหมาย: มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development)
    โดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ

ระบบและกลไกการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์สู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ได้พัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ โดยใช้กรอบการประเมิน “มหาวิทยาลัยสีเขียว” ตามมาตรฐาน UI Green Metric World University Rankings เป็นแนวทางหลักในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืนและเป็นต้นแบบด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาค1 มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน สร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านกายภาพกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

กิจกรรมการดำเนินงาน

1. การประสานความร่วมมือและเตรียมความพร้อมของเครือข่าย (Collaboration)
2. จัดเก็บรวบรวมข้อมูล (Site Survey, Collective Data)
  2.1 สถานที่ตั้งและระบบสาธารณูปโภค (Setting and infrastructure: SI)
  2.2 การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Energy and Climate Change: EC)
  2.3 การจัดการขยะ (Wastes: WS)
  2.4 การใช้น้ำ (Water: WR)
  2.5 การจัดการระบบขนส่ง (Transportation: TR)
  2.6 ความสามารถในการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน (Education: ED)
3. วิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)
4. สังเคราะห์ข้อมูลและออกแบบทางเลือกแบบแผนการจัดสภาพแวดล้อม (Synthesis and Alternative Environmental design)
5. นำเสนอสู่ชุมชนและวิพากษ์ (Public Presentation and Criticism)
6. พัฒนางานออกแบบแนวปฏิบัติสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว (Design development to Green University)
7. การประเมินผลและสรุปผลงานวิจัย (Evaluation and Conclusion)
8. สรุปปัญหา และข้อเสนอแนะ (Problems and Recommendation)