ล็อกอิน
   
   
     
ลงทะเบียนสมาชิก
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
ขณะนี้ออนไลน์ 1 คน
ผูู้เข้าชมวันนี้ 3 คน
»» ผู้เข้าชมเมื่อวาน 3 คน
»» ผู้เข้าชมสัปดาห์นี้ 23 คน
»» ผู้เข้าชมเดือนนี้ 83 คน
»» ผู้เข้าชมปีนี้ 557 คน
ผู้เข้าชมทั้งหมด 557 คน
 

แสดงข้อมูลงานวิจัย

ชื่องานวิจัย(ภาษาไทย)  
ชื่องานวิจัย(ภาษาอังกฤษ)  
คำสำคัญ  
ผู้วิจัย   ศักด์ดา หอมหวล
ผู้ร่วมวิจัย   เพิ่มศักดิ์ พันธ์แตง, สารัลย์ กระจง,
ที่ปรึกษางานวิจัย  
แหล่งทุน   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ชื่อทุนวิจัย/โคงการ   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ปีงบประมณ   2560
สถานที่เผยแพร่  
บทคัดย่องานวิจัย   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการรายงานผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยประจำเดือน (มฝ.2) เข้าสู่ระบบข้อมูลกลางเป็นประจำทุกเดือน แต่ปัจจุบันมีการสำรวจปริมาณขยะมูลฝอยหลายวิธีการส่งผลให้การประเมินปริมาณขยะมูลฝอยมีความคลาดเคลื่อนกับข้อมูลจริง การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสำรวจปริมาณของขยะแต่ละประเภทในพื้นที่เครือข่ายตำบลบัวใหญ่และเจดีย์ชัย และเพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องมือสำรวจข้อมูลปริมาณขยะสำหรับองค์การปกครองท้องถิ่น โดยวิธีการสัมภำษณ์เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 6 แห่ง เพื่อหารูปแบบการจัดเก็บที่เหมาะสมและวิเคราะห์ความต้องการใช้งานเครื่องมือสำรวจปริมาณขยะมูลฝอย ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลปริมาณขยะที่เกิดขึ้นใน อบต.บ้านกาศ อ.สูงเม่น จ.แพร่ มีปริมาณ 2.83 ตันต่อวัน มีรายงานการเก็บขนไปกำจัด 1 ตันต่อวัน ปริมาณขยะที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ 1.86 ตันต่อวัน ไม่พบรายงานปริมาณขยะที่ไม่มีการให้บริการเก็บและปริมาณขยะที่ถูกกำจัดที่ถูกต้อง แต่พบว่ามีปริมาณขยะที่ถูกกำจัดไม่ถูกต้องจำนวน 1 ตันต่อวัน ปัจจุบันมีการจัดเก็บขยะมูลฝอยหลำยรูปแบบและมีวิธีการประเมินปริมาณของขยะมูลฝอยแตกต่ำงกันซึ่งยากต่อการจำแนกขยะมูลฝอยประเภทต่าง ๆ ได้ ดังนั้นวิธีการสำรวจปริมาณขยะที่แนะนำโดยกรมควบคุมมลพิษเป็นวิธีที่เหมาะสมต่อการนำมาสำรวจปริมาณขยะชุมชน ผลการวิเคราะห์ความความต้องการของผู้ใช้งาน พบว่า เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นสามารถกรอกข้อมูลปริมาณขยะจากการสำรวจ สามารถคำนวณปริมาณขยะแต่ละประเภท และสามารถแสดงผลเชิงแผนที่ ผู้วิจัยได้นำความต้องการดังกล่าวมำออกแบบเป็นแอพพลิเคชั่นบนมือถือสำหรับส่วนเก็บข้อมูล และพัฒนำเว็บไซด์สำหรับส่วนของการแสดงผล ระบบที่พัฒนำขึ้นสามารถช่วยวิเคราะห์สัดส่วนของปริมาณขยะที่สะดวกรวดเร็ว สามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้กรอกเข้ำสู่ระบบฐานข้อมูลกลางขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 
เอกสารงานวิจัย   (งานวิจัยบทที่ 4-5 และส่วนท้าย ดาวน์โหลดเฉพาะสมาชิกในระบบเท่านั้น)
  ส่วนหัวงานวิจัย
  บทที่ 1
  บทที่ 2
  บทที่ 3
   
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 
27 ถ.อินใจมี ต.ท่าอิฐ อ.เมืองจ.อุตรดิตถ์ 53000  โทร 055 411096 ต่อ 1642
  Copyright © 2013, research.uru.ac.th,
All Rights Reserved.