ล็อกอิน
   
   
     
ลงทะเบียนสมาชิก
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
ขณะนี้ออนไลน์ 1 คน
ผูู้เข้าชมวันนี้ 4 คน
»» ผู้เข้าชมเมื่อวาน 3 คน
»» ผู้เข้าชมสัปดาห์นี้ 21 คน
»» ผู้เข้าชมเดือนนี้ 110 คน
»» ผู้เข้าชมปีนี้ 584 คน
ผู้เข้าชมทั้งหมด 584 คน
 

แสดงข้อมูลงานวิจัย

ชื่องานวิจัย(ภาษาไทย)  
ชื่องานวิจัย(ภาษาอังกฤษ)  
คำสำคัญ  
ผู้วิจัย   เพิ่มศักดิ์ พันธ์แตง
ผู้ร่วมวิจัย   สินีนาถ วิกรมประสิทธิ, สุกัญญา สุจาคำ, ภาศิริ เขตปิยรัตน์,
ที่ปรึกษางานวิจัย  
แหล่งทุน   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ชื่อทุนวิจัย/โคงการ   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ปีงบประมณ   2560
สถานที่เผยแพร่  
บทคัดย่องานวิจัย   รูปแบบการสร้างผู้ประกอบการดำเนินกิจการเพื่อสังคมสำหรับหนุนเสริมระบบบริหาร จัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วม อบต.ป่าคา มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบบริบทของชุมชนป่าคา และค้นหาคุณลักษณะที่สำคัญของผู้ประกอบการขยะรีไซเคิล ที่สามารถพัฒนากลไกการบริหารจัดการขยะชุมชน โดยออกแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วมระหว่างนักวิจัย อบต.ป่าคา และชุมชนมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ประสานงานกับ อบต.ป่าคา เพื่อทราบบริบทการบริหารจัดการขยะของพื้นที่2) ขอเข้าพบ อสม. ที่เป็นแกนนำในการบริหารจัดการขยะ 3) พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4) การถอดบทเรียน 5) การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการขยะ 6) การสร้างผู้ประกอบการขายขยะรีไซเคิลผลการวิจัยจำแนกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นการศึกษาบริบทของการจัดการขยะของอบต.ป่าคา เริ่มเข้าสู่กระบวนการจัดการขยะโดยนโยบายจังหวัดน่าน จะปิดบ่อขยะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และการเพิ่มขึ้นของขยะที่ลงสู่บ่อ จึงต้องหาแนวทางในการจัดการขยะจากต้นทาง คือ ครัวเรือนโดยการส่งแกนนำ อสม.ไปศึกษาดูงานกระบวนการจัดการขยะที่ได้รับรางวัลเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการขยะของชุมชน จากนั้นได้ถ่ายทอดวิธีการจัดการขยะทั้ง 4 ประเภท และการคัดแยกขยะรีไซเคิล ให้แก่ประชาชนและมีการนัดหมายเพื่อรับซื้อขยะรีไซเคิล ในช่วงแรกมีปัญหาเรื่องผู้ประกอบการรับซื้อ พ่อค้าเร่ กดราคาทำให้ประชาชนหมดกำลังใจในการคัดแยก จึงติดต่อร้านรับซื้อขนาดใหญ่ที่มีเงื่อนไขรับซื้อจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาสถานที่จัดเก็บ หลังจากมีร้านรุ่งโรจน์รีไซเคิลมาเปิดข้าง อบต.ป่าคา ทำให้เกิดพ่อค้าเร่ มารับซื้อบ่อยขึ้นเนื่องจากใกล้ร้านที่จะนำไปขายส่วนที่สอง สร้างผู้ประกอบการรับซื้อขยะรายใหม่ ร้านรุ่งโรจน์รีไซเคิล ให้ข้อมูลการทำธุรกิจรับซื้อขยะรีไซเคิล จาเป็นต้องมีสถานที่ประกอบกิจการที่กว้าง มีการจัดเก็บสินค้าที่ดี ต้อง วางแผนการขายไม่กักตุนสินค้า มีเงินทุนหมุนเวียนที่เป็นเงินสด อาจจะประสบกับปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ทางร้านยึดถือเรื่องการค้าที่เป็นธรรม เพื่อเป็นการกำหนดเป็นข้อตกลงร่วมกันได้มีการเซ็นความร่วมมือ อย่างเป็นทางการ และเป็นการเชิดชูเกรียติ ว่าร้านรุ่งโรจน์รีไซเคิล เป็นร้านที่ได้ทำประโยชน์ให้กับ อบต.ป่าคา มีการให้บริการ ส่งรถไปรับซื้อตามวันเวลาที่ได้กำหนดไว้ ทางร้านรุ่งโรจน์รีไซเคิล นำเสนอว่าควรมีป้ายแสดงรายชื่อสินค้าให้ประชาชนได้ทราบการบริหารจัดการขยะในชุมชน จะประสบความสำเร็จได้ ผู้ประกอบการรับซื้อขยะรีไซเคิล ก็เป็นสิ่งที่สาคัญ และมีความยั่งยืน โดยผู้ประกอบการ ต้องมีคุณลักษณะของผู้ประกอบธุรกิจ มีความขยัน อดทน ประหยัด มีจิตอาสา ต้องการช่วยเหลือชุมชน มีทัศนคติที่ดีในอาชีพ มีสถานที่ประกอบธุรกิจ และที่สำคัญคือ ต้องมีหลักการค้าที่เป็นธรรม ไม่เอาเปรียบผู้คัดแยก ผู้ที่อยู่ในการะบวนการจัดการขยะ ผู้ประกอบการรับซื้อขยะรีไซเคิล ถือเป็นอาชีพที่ช่วยเหลือสังคม ดังนั้น ทาง อบต. หรือ หน่วยงานราชการ ควรมีการยกย่อง เชิดชู ว่าเป็นอาชีพที่ช่วยเหลือสังคม เพื่อให้ผู้ประกอบการมีกำลังใจในการประกอบอาชีพ และอยู่ในกระบวนการของการจัดการขยะต่อไป 
เอกสารงานวิจัย   (งานวิจัยบทที่ 4-5 และส่วนท้าย ดาวน์โหลดเฉพาะสมาชิกในระบบเท่านั้น)
  ส่วนหัวงานวิจัย
  บทที่ 1
  บทที่ 2
  บทที่ 3
   
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 
27 ถ.อินใจมี ต.ท่าอิฐ อ.เมืองจ.อุตรดิตถ์ 53000  โทร 055 411096 ต่อ 1642
  Copyright © 2013, research.uru.ac.th,
All Rights Reserved.