ล็อกอิน
   
   
     
ลงทะเบียนสมาชิก
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
ขณะนี้ออนไลน์ 1 คน
ผูู้เข้าชมวันนี้ 1 คน
»» ผู้เข้าชมเมื่อวาน 7 คน
»» ผู้เข้าชมสัปดาห์นี้ 15 คน
»» ผู้เข้าชมเดือนนี้ 104 คน
»» ผู้เข้าชมปีนี้ 578 คน
ผู้เข้าชมทั้งหมด 578 คน
 

แสดงข้อมูลงานวิจัย

ชื่องานวิจัย(ภาษาไทย)  
ชื่องานวิจัย(ภาษาอังกฤษ)  
คำสำคัญ  
ผู้วิจัย   ภคมน ปินตานา
ผู้ร่วมวิจัย   พงศ์เทพ กุลชาติชัย,
ที่ปรึกษางานวิจัย  
แหล่งทุน   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ชื่อทุนวิจัย/โคงการ   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ปีงบประมณ   2561
สถานที่เผยแพร่  
บทคัดย่องานวิจัย   ขยะมูลฝอยติดเชื้อ เป็นมูลฝอยที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ในปริมาณหรือความเข้มข้นที่สามารถทำให้เกิดโรคได้ แต่การทำลายขยะมูลฝอยติดเชื้อของชุมชนยังดำเนินการไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีความสำคัญซึ่งจะมีผลต่อการออกแบบลักษณะเตาเผาขยะมูลฝอยติดเชื้อระดับชุมชนและนำไปสร้างต้นแบบเตาเผาขยะมูลฝอยติดเชื้อที่เหมาะสมในระดับชุมชน โดยการเก็บข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการลงสำรวจปัจจุบันขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่ต้นแบบในการดำเนินงานวิจัย คือ อบต.ป่าคา จ.น่าน และทวนสอบปัจจัยที่เกี่ยวข้องในลักษณะโฟกัสกรุ๊ป โดยรับข้อมูลจากตัวแทนพื้นที่วิจัย แล้วรวบรวมเพื่อนำมาเปรียบเทียบสรุปผลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยในการสร้างเตาเผาขยะมูลฝอยติดเชื้อชุมชน คือ เทคโนโลยีต้องสามารถกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่มีในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับข้อมูลชนิดและปริมาณของมูลฝอยติดเชื้อ และผ่านมาตรฐานสิ่งแวดล้อมตามกฎหมาย ต้นทุนต่ำ จัดสร้างไม่ยุ่งยาก ใช้งานง่าย คนในชุมชนสามารถบำรุงรักษาเองได้ เมื่อได้สรุปข้อมูลร่วมกันจึงนำไปทำการออกแบบเตาเผาให้สอดคล้องกับข้อมูลดังกล่าว และได้มีการทวนสอบรูปแบบอีกครั้งจากตัวแทนในพื้นที่ก่อนการจัดสร้างจริง เมื่อได้จัดสร้างเตาเผาต้นแบบแล้ว จึงทำการทดสอบหาประสิทธิภาพเบื้องต้น แล้วจึงนำไปคืนข้อมูลให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รับฟังข้อเสนอแนะ และหาวิธีแก้ไขปรับปรุงร่วมกัน นำไปสู่การปรับปรุงเตาเผาต้นแบบให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และตรงกับความต้องการผู้ใช้งานมากที่สุด 
เอกสารงานวิจัย   (งานวิจัยบทที่ 4-5 และส่วนท้าย ดาวน์โหลดเฉพาะสมาชิกในระบบเท่านั้น)
  ส่วนหัวงานวิจัย
  บทที่ 1
  บทที่ 2
  บทที่ 3
   
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 
27 ถ.อินใจมี ต.ท่าอิฐ อ.เมืองจ.อุตรดิตถ์ 53000  โทร 055 411096 ต่อ 1642
  Copyright © 2013, research.uru.ac.th,
All Rights Reserved.