บทความวิจัย/วิชาการ

Thai-Journal Citation Index (TCI)
วารสารพยาบาลตำรวจ
2565
รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักพุทธจริยศาสตร์ ในเทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
THE DEVELOPMENT MODEL OF THE QUALITY OF LIFE FOR THE ELDERLY BASED ON BUDDHIST ETHICS IN HADCHAOSAMRAN SUBDISTRICT MUNICIPALITY, MUANG DISTRICT, PHETCHABURI PROVINCE
การวิจัยนี ้มีวัตถุประสงค์เพื ่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาคุณภาพชีวิตของผู ้สูงอายุในเทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ 2) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตและการพัฒนาคุณภาพชีวิต และ 3) เสนอรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู ้สูงอายุ ตามหลักพุทธจริยศาสตร์ในเทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี การวิจัยครั ้งนี ้ใช้วิธีวิจัยแบบ ผสมวิธี ตัวอย่าง คือ ประชาชนอายุ 60 ปีขึ ้นไปในพื ้นที ่เทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ จำนวน 271 คน และตัวแทน ผู ้สูงอายุในพื ้นที ่เทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ จำนวน 9 คน เครื ่องมือที ่ใช้ในวิจัย คือ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตของ ผู ้สูงอายุ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที ่ผ่านการตรวจสอบโดยผู ้เชี ่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ .67-1.00 และมีค่าความเที ่ยงของแบบสอบถามทั ้งฉบับเท่ากับ .968 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู ้สูงอายุส่วนใหญ่มีสุขภาพร่างกายเสื ่อมถอย ไม่แข็งแรง เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ทำให้เกิดข้อจำกัดของร่างกายในการใช้ชีวิต ทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ ส่งผลต่อสภาพจิตใจในเชิงลบ รู้สึก ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง เป็นภาระของครอบครัว และรู ้สึกหมดความสำคัญ จึงมีบทบาทหน้าที ่ในครอบครัวและทางสังคม ลดน้อยลง ก่อให้เกิดความเครียดจากภาวะที ่มีการเปลี ่ยนแปลงในตัวเอง มีการรับรู ้ ความจำ และการเรียนรู ้ช้าลง 2) การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธจริยศาสตร์โดยรวมในระดับมาก (M = 3.83, SD = .41) ด้านทีมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทุกข์ (M = 3.95, SD = .53) และน้อยที่สุด คือ มรรค (M = 3.67, SD = .49) ส่วนคุณภาพ ชีวิต 4 ด้านของผู ้สูงอายุ โดยรวมอยู ่ในระดับมาก (M = 3.68, SD = .40) ด้านที ่มีค่าเฉลี ่ยสูงสุด คือ ด้านจิตใจ (M = 3.89, SD = .51) และน้อยที ่สุด คือ ด้านร่างกาย (M = 3.42, SD = .51) และ 3) รูปแบบการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของผู ้สูงอายุตามหลักพุทธจริยศาสตร์ในเทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญเป็นแบบ “BPHV Model” มีองค์ประกอบ คือ การสร้างความรู้ความเข้าใจ การมีส่วนร่วม การส่งเสริมสุขภาพ และการสร้างคุณค่า
คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, หลักพุทธจริยศาสตร์, อริยสัจ 4