ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว เพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมติดเกม ของเด็กและเยาวชน ในเขตตำบลทุ่งฝาย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
The Effects of Guidance Activities for Problems-Solving Game of Young Children and Youths Installation behavior in Tong Fai District Muang Lampang province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัมเรศ เนตาสิทธิ์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวสำหรับแก้ปัญหาพฤติกรรมติดเกมของเด็กและเยาวชน ในเขตตำบลทุ่งฝาย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง 2. เพื่อนำชุดกิจกรรมแนะแนวไปใช้ในการแก้ปัญหาพฤติกรรมติดเกมให้กับเด็กและเยาวชน ในเขตตำบลทุ่งฝาย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง 3. เพื่อประเมินผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว
คำสำคัญ
ชุดกิจกรรมแนะแนว, ติดเกม, เด็กและเยาวชน
บทคัดย่อย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวสำหรับแก้ปัญหาพฤติกรรม ติดเกมของเด็กและเยาวชน ในเขตตำบลทุ่งฝาย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เพื่อนำชุดกิจกรรมแนะแนวไปใช้ในการแก้ปัญหาพฤติกรรมติดเกมให้กับเด็กและเยาวชน และเพื่อประเมินผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือเด็กและเยาวชนในเขตตำบลทุ่งฝาย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง จำนวน 41 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยให้เด็กและเยาวชนสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย (Volunteer Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร (Content Analysis) แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตพฤติกรรม การประชุมสนทนากลุ่ม(Focus Group Discussion) แบบทดสอบการติดเกมฉบับเด็กและวัยรุ่น (Game Addiction Screening Test-GAST: Child and Adolescent Version) และแบบทดสอบการติดเกมฉบับผู้ปกครอง(Game Addiction Screening Test-GAST) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยทำให้ได้ชุดกิจกรรมแนะแนวสำหรับแก้ปัญหาพฤติกรรมติดเกมของเด็กและเยาวชน ชื่อชุดว่า “ปรับตัว เปลี่ยนใจ ไม่ติดเกม” ซึ่งประกอบไปด้วยกิจกรรมย่อยทั้งหมด 6 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรม“คนสองคน”กิจกรรม“My Idol” กิจกรรม“อุณหภูมิพฤติกรรมเสี่ยง” กิจกรรม“สัญญาใจสู่อนาคตที่ดีกว่า” กิจกรรม“ครั้งนั้น ฉันจำได้” และกิจกรรม “เป้าหมายมีไว้พุ่งชน” หลังจากใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่พัฒนาขึ้น ไปจัดกิจกรรมแก้ปัญหาพฤติกรรมติดเกมของเด็กและเยาวชน พบว่าพฤติกรรมการแสดงออกของเด็กและเยาวชนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและในภาพรวมเด็กและเยาวชนเพศชายมีพัฒนาการพฤติกรรมการเล่นเกมที่ดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 46.40 เด็กและเยาวชนเพศหญิงพัฒนาการพฤติกรรมการเล่นเกมที่ดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 45.01 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการติดเกมของเด็กและเยาวชนเพศชายและเพศหญิง ก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว พบว่า ค่าเฉลี่ยการติดเกมของเด็กและเยาวชนระหว่างก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยค่าเฉลี่ยการติดเกมของเด็กและเยาวชนหลังใช้ชุดกิจกรรมต่ำกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมสำหรับการทดสอบการติดเกมของเด็กและเยาวชนในระยะติดตาม ที่ประเมินโดยผู้ปกครองพบว่า เด็กและเยาวชนมีพัฒนาการพฤติกรรมการเล่นเกมที่ดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 46.55 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการติดเกมของเด็กและเยาวชน ก่อนและระยะติดตามหลังจากใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวพบว่า ที่ค่าเฉลี่ยการติดเกมของเด็กและเยาวชน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01โดยค่าเฉลี่ยการติดเกมของเด็กและเยาวชนหลังใช้ชุดกิจกรรมต่ำกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรม
เอกสารงานวิจัย
  1. บทที่ 1
  2. บทที่ 2
  3. บทที่ 3
  4. บทที่ 4
  5. บทที่ 5
  6. บรรณานุกรม
  7. ภาคผนวก
  8. บทคัดย่อ
  9. กิตติกรรมประกาศ
  10. หน้าปก
  11. สารบัญ
  12. บทความ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ