ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง นวัตกรรมการสร้างมูลค่าใบยางและดอกยางโดยชุมชนมีส่วนร่วม ของเทศบาลตำบลยางเนิ้ง,จังหวัดเชียงใหม่
Innovation in the Value of Rubber and Tread by Community Involvement at Municipal Yang Noeng District, Chiang Mai Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวิภา ยงประยูร
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างและทดสอบความเหมาะสมของนวัตกรรมการสร้างมูลค่าใบยางและดอกยางโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการทำให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองให้เป็นชุมชนน่าอยู่
คำสำคัญ
การแปรรูปขยะ, ใบยาง, ดอกยาง
บทคัดย่อย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและทดสอบความเหมาะสมของนวัตกรรมการสร้างมูลค่าใบยางและดอกยา โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการทำให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองให้เป็นชุมชนน่าอยู่ ตามขอบเขตการวิจัย ที่ต้องการค้นหา แนวทาง/กระบวนการ/วิธีการ ตลอดจนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปขยะจากใบยางและดอกยาง ในพื้นที่ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลยางเนิ้ง,จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research: PAR) ที่ประกอบด้วย การค้นหารูปแบบ/แนวทางเดิมในการจัดการขยะจากใบยางและดอกยางของชุมชน ระดมแนวคิด หลักฐานจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระบบข้อมูลตำบล ข้อมูลเฉพาะด้านของทรัพยากรภายในชุมชนเป้าหมาย และ การนำแนวทาง กระบวนการ วิธีการตลอดจนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ในการค้นหาวิธีการแปรรูปขยะ ด้วยข้อมูลการตรวจวิเคราะห์คุณสมบัติด้านต่างๆของใบยางและต้นยาง นำไปสู่ การประเมินปริมาณการกำจัดใบยางและดอกยางที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะชุมชน ส่งผลให้ เกิดการสร้างมูลค่าใบยางและดอกยาง ตลอดจนชุมชนสามารถจัดการตนเองให้เป็นชุมชนน่าอยู่ในที่สุด ผลการวิจัย พบว่า นวัตกรรมที่เหมาะสมในการสร้างมูลค่าใบยางและดอกยาง ของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลยางเนิ้ง,จังหวัดเชียงใหม่ คือ กระถางปลูกต้นไม้และกระถางประดับจากใบยางนา เพื่อสร้างคุณค่าของใบยางนาและดอกยางนาจากมูลค่าเชิงสังคม ด้วยการดำเนินงานตามรูปแบบการเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน ในการปรับปรุงสูตรการทำกระถางใบยางนาโดยกระบวนการ PAR นี้ ส่งผลให้เกิดนวัตกรรม ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ ซึ่งเกิดการถ่ายโอนความรู้การพัฒนากระถางใบยาง จากนักวิชาการ ไปสู่กลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน และนักเรียนในโรงเรียน ภายในพื้นที่เขตรับผิดชอบของเทศบาล จำนวน 3 นวัตกรรม ได้แก่ กระถางประดับจากใบยางภายในระยะเวลา 1 วัน และหลักสูตรการอบรมการทำกระถางจากใบยางด้วยวัสดุใกล้ตัว ตลอดจน หลักสูตรการทำกระถางใบยางสำหรับผู้สูงอายุ
เอกสารงานวิจัย
  1. หน้าปก
  2. บทความ
  3. บทความ
  4. บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ สารบัญ
  5. รายงาน

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ