ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของ เด็กและเยาวชนที่ถูกทอดทิ้ง เทศบาลตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
-

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์วิมพ์วิภา บุญกลิ่น
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของเด็กและเยาวชนที่ถูกทอดทิ้ง 2.2 เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของเด็กและเยาวชนที่ถูกทอดทิ้ง
คำสำคัญ
กิจกรรมแนะแนว, ความสามารถในการเผชิญอุปสรรค, เด็กและเยาวชนที่ถูกทอดทิ้ง
บทคัดย่อย
งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของเด็กและเยาวชนที่ถูกทอดทิ้ง เทศบาลตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของเด็กและเยาวชนที่ถูกทอดทิ้ง 2) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของเด็กและเยาวชนที่ถูกทอดทิ้ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา จำนวน 3 คน บุคคลในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนที่ถูกทอดทิ้งในเทศบาลตำบลเกาะคา จำนวน 15 คน และเด็กและเยาวชนที่ถูกทอดทิ้ง จำนวน 30 คน เป็นการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และประเมินรูปแบบโดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ผลการวิจัยพบว่า การสนทนากลุ่มบุคคลในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนที่ถูกทอดทิ้งในเทศบาลตำบลเกาะคา จำนวน 15 คน และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาแนวทางในการพัฒนากิจกรรมแนะแนวสำหรับเด็กและเยาวชนที่ถูกทอดทิ้ง สามารถนำมาพัฒนาเป็นชุดกิจกรรมกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญอุปสรรค (AQ) “เยาวชน 4.0 เรียนรู้ ต่อสู้อุปสรรค” ซึ่งประกอบไปด้วยกิจกรรมย่อยทั้งหมด 6 กิจกรรม และนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ผลการประเมินความสามารถในการเผชิญอุปสรรคก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมมีค่ารวมเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.21 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.87 ผลการประเมินความสามารถในการเผชิญอุปสรรคอยู่ในระดับปานกลาง และหลังการเข้าร่วมกิจกรรมผลการประเมินความสามารถในการเผชิญอุปสรรคมีค่ารวมเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.96 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.82 ผลการประเมินความสามารถในการเผชิญอุปสรรคอยู่ในระดับมาก
เอกสารงานวิจัย
  1. กิตติกรรม
  2. บทความ
  3. บทที่ 1
  4. บทที่ 2
  5. บทที่ 4
  6. บทที่ 5
  7. ปก
  8. ภาคผนวก

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ