ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การส่งเสริมการจัดการชุมชนเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาหมอกควัน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
Promoting of Community Management to Reduce the Effect from Smog Problem, Phan District, Chiang Rai Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ชิสาพัชร์ ชูทอง
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้นจากการเผาในที่โล่งในชุมชนและบริเวณใกล้เคียงแก่ประชาชน 2. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงผลกระทบด้านสุขภาพจากวิกฤตหมอกควันในพื้นที่ 3. เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมการเผาในที่โล่งในชุมชน 4. เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทราบแนวปฏิบัติที่ถูกต้องในการป้องกันตนเองเพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพในช่วงวิกฤตหมอกควัน
คำสำคัญ
ผลกระทบ, ปัญหาหมอกควัน, การส่งเสริมการจัดการชุมชน
บทคัดย่อย
ปัญหาหมอกควันเป็นปัญหาที่สำคัญเป็นอย่างมากที่จำเป็นต้องแก้ไข เพื่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่เขตภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะเชียงรายที่มีปัญหาหมอกควันเป็นประจำทุกปี การส่งเสริมการจัดการชุมชนเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาหมอกควัน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1). เพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้นจากการเผาในที่โล่งในชุมชนและบริเวณใกล้เคียงแก่ประชาชน 2). เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงผลกระทบด้านสุขภาพจากวิกฤตหมอกควันในพื้นที่ 3). เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมการเผาในที่โล่งในชุมชน และ 4). เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทราบแนวปฏิบัติที่ถูกต้องในการป้องกันตนเองเพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพในช่วงวิกฤตหมอกควัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้นำชุมชนด้วยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงบรรยาย ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจถึงสาเหตุและผลกระทบของการเกิดปัญหาหมอกควันอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 (0.53) ระดับการประสบปัญหาหมอกควันในพื้นที่อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 40.5 โดยที่สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาหมอกควันในพื้นที่อันดับหนึ่ง คือ ไฟป่า คิดเป็นร้อยละ 81.0 และสาเหตุรองลงมาเป็นสาเหตุจากการเผาเศษพืชและเศษวัสดุทางการเกษตรเป็นร้อยละ 57.1 ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการประสบความสำเร็จของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาหมอกควันในชุมชนเป็นปัจจัยเดียวกันกับปัจจัยที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาหมอกควันในชุมชนประสบความสำเร็จ ได้แก่ 3 ปัจจัยที่สำคัญ คือ คน งบประมาณ และความรู้ความเข้าใจของประชาชน เช่น มาตรการหรือกฏหมายด้านการเผาป่าที่จริงจัง ข้อบังคับเกี่ยวกับการเผาขยะ แก้ไคน เช่น คนในชุมชน มีการเพิ่มสวัสดิการให้กับคนที่ดูแลป่า อาสาสมัครดับไฟป่า แก้คนที่กำจัดซากวัสดุทางการเกษตรด้วยการเผาให้ปรับเปลี่ยนการจัดการขยะด้วยการทำปุ๋ยหมัก คนนอกชุมชนที่มาเผาป่าเพื่อหาของป่า ก็ต้องมีบทลงโทษที่รุนแรงและเปลี่ยนความคิดความเชื่อเดิมๆ ว่าของป่าจะเกิดเมื่อเผา และที่สำคัญทำให้คนเกิดการตระหนักว่าสุขภาพของประชาขนโดยรวมมีความสำคัญกว่า มีงบประมาณและสนับสนุนอุปกรณ์เพื่อใช้ในการป้องกันและดับไฟป่า รวมถึงบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเพียงพอจากหน่วยงานภาครัฐทุกภาคส่วน มีการจัดและสนับสนุนเพิ่มเติมกิจกรรมที่เพิ่มความรู้ของคนในชุมชนเกี่ยวกับปัญหาไฟป่าและปัญหาหมอกควัน
เอกสารงานวิจัย
  1. หน้าปก
  2. บทความ
  3. บทนำ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ