ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง กลยุทธ์การบริหารจัดการขยะแบบประชาชนมีส่วนร่วมในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง
Strategies for West Management for People Participation in Area Mae Theep Sub-district Administration Organization, Ngao District Lumpang Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ ดร.สุวรัฐ แลสันกลาง
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
2.1 ศึกษาสภาพที่เป็นจริงในการจัดการขยะแบบประชาชนมีส่วนร่วมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง 2.2 สำรวจความต้องการ ความจำเป็นในการจัดการขยะแบบประชาชนมีส่วนร่วมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ
Strategies for West Management, Management for People Participation
บทคัดย่อย
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริงในการจัดการขยะแบบประชาชนมีส่วนร่วมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตีบ 2)สำรวจความต้องการ ความจำเป็นในการจัดการขยะแบบประชาชนมีส่วนร่วมในพื้นที่ 3) การจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาสู่การปฏิบัติในการบริหารจัดการขยะแบบประชาชนมีส่วนร่วมในพื้นที่ 4) ประเมินผลการมีส่วนร่วมในการนำแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติในการบริหารจัดการขยะแบบประชาชนมีส่วนร่วมในพื้นที่คือการนำแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติและการมีส่วนร่วมในการนำแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้มี 2 กลุ่ม (1) ประชาชนในเขตพื้นที่ จำนวน 5 หมู่บ้าน คือผู้บริหาร พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าหน้าที่ของส่วนสาธารณสุข ผู้นำชุมชน คณะกรรมการชุมชน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตีบ อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน จำนวน 4,569 คน ใช้วิธีหากลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 367 คน ใช้จำนวน 368 คน (2) ประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง สำหรับจัดประชุมกลุ่มการสนทนากลุ่ม ในการวิเคราะห์สภาพการบริหารการจัดการขยะคือ ผู้บริหาร พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าหน้าที่ของส่วนสาธารณสุข จำนวน 7 คน และผู้นำชุมชน คณะกรรมการชุมชน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตีบ อาสาสมัครสาธารณะสุขประจำหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 3 คน รวมจำนวน 15 คน รวมจำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ 1) ใช้แบบสอบถาม 2) การจัดประชุมกลุ่มสนทนา 3) การจัดประชุมกลุ่มในการวางแผนกลยุทธ์ 4) แบบสอบถามสำรวจความคิดเห็น การจัดประชุมกลุ่มสนทนา ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน ร้อยละ และความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจความคิดเห็นใช้สถิติพื้นฐาน ร้อยละ และความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการจำแนกข้อมูลที่รวบรวมได้ จัดเป็นหมวดหมู่ตามกรอบการศึกษา ใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) การบรรยายผลสะท้อนกลับ จากการพัฒนาระบบการบริหารจัดการของชุมชนแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลจากการสำรวจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง ร้อยละ 66.2 ช่วงอายุ ต่ำกว่า 20 ปี มีมากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 28.9 ด้านระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง คือ ประถมศึกษา ร้อย 56.9 อาชีพ เกษตรกรรม ร้อยละ 54.0 สถานภาพสมรส แต่งงาน ร้อยละ 57.5 หย่า/หม้ายน้อยสุด ร้อยละ 11.7 สถานภาพครอบครัวผู้ที่เป็นบุตรมีน้อยสุด ร้อยละ 16.9ระดับ ระดับรายได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5,000บาท ร้อยละ 58.6 รองลงมาน้อยกว่า 5,001- 10,000บาท ร้อยละ 36.2 จำนวนสมาชิกครอบครัว 1-2 คน ร้อยละ 44.2 และ 7 คนขึ้นไปมีน้อยสุด ร้อยละ 9.2 ประเภทครอบครัวที่เป็นบ้านพักอาศัยมากที่สุด ร้อยละ 77.1 และประเภทบ้านพักและประกอบธุรกิจมีน้อยสุด ร้อยละ 9.0 มีความตระหนัก 2) ด้านความรู้ ความเข้าใจในด้านการกำจัดขยะ พบว่า ประชาชนทราบว่าการแยกขยะได้ประโยชน์ต่อการแปรรูปเช่น ขวดพลาสติกใส แก้วกระป๋องเครื่องดื่มท้องถิ่น ร้อยละ 81.2 รองลงมาทราบว่าการเลือกใช้สินค้าที่สามารถส่งคืนบรรจุภัณฑ์แก่ผู้ผลิตได้ เช่นขวดเครื่องดื่มต่าง ๆ ร้อยละ 80.9 และทราบว่าหากปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงการใช้บรรจุภัณฑ์ที่จะสร้างปัญหามูลฝอยแล้วจะสามารถ ลดปริมาณขยะมูลฝอยได้ เช่น การปฏิเสธการใช้ถุงพลาสติกบรรจุสิ่งของต่าง ๆ เป็นต้น ร้อยละ 72.8 และข้อมูลสถานภาพจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในครัวเรือน พบว่าในครัวเรือนของประชาชนไม่มีการแยกประเภทขยะ เช่น ขวดแก้ว , พลาสติก , ถ่ายไฟฉายเก่า ร้อยละ 60.8 มีการกำจัดขยะในครัวเรือนใส่ถุงรวมกันแล้ววางไว้ตรงจุดทิ้งขยะ เทศบาลจัดเก็บ ร้อยละ 71.0 คัดแยกขยะเปียกและขยะแห้งแล้วกำจัด ร้อยละ 27.4 ใส่ถุงรวมกันแล้วนำไปทิ้งที่อื่น คิดเป็นร้อยละ 22.6 คัดแยกขยะแล้วนำไปขาย คิดเป็นร้อยละ 18.7 ฝัง ร้อยละ 12.9 ปริมาณขยะที่เกิดจากครัวเรือนมีปริมาณ วันละ1 – 2 กิโลกรัม ร้อยละ 54.8 ต่ำกว่า 1 กิโลกรัม ร้อยละ 29.0 2.1 – 3 กิโลกรัม ร้อยละ 12.9 และ มากกว่า 3 กิโลกรัม ร้อยละ 3.2 ในครัวเรือนของประชาชนมีถังขยะหรือที่รองรับขยะ ร้อยละ 77.1 ประชาชนใช้บริการจัดเก็บมูลฝอยของเทศบาล ร้อยละ 69.4 ความเห็นต่อการเก็บค่าธรรมเนียมมูลฝอยในอัตราปกติ ร้อยละ 51.6 หากมีการเพิ่มการเก็บค่าธรรมเนียม ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 48.4 และมีวิธีการกำจัดมูลฝอยครัวเรือนโดยการนำขยะเปียกทำปุ๋ยชีวภาพ ร้อยละ 54.1 ในปัจจุบันเทศบาลกำหนดเวลาในการจัดเก็บเหมาะสมร้อยละ 56.5 ประสิทธิภาพในการบริการจัดเก็บมูลฝอยของเทศบาลได้รับความสะดวกจากการใช้บริการคิดเป็น ได้รับความสะดวก ร้อยละ 66.1 3) ด้านความตระหนักในการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือน พบว่าไม่เคยปฏิบัติด้านการมีส่วนร่วมในการรณรงค์หรือกิจกรรมที่ทางอบต.จัดเช่น โครงการหมู่บ้านน่าอยู่ หมู่บ้านน่ามอง เป็นต้น ร้อยละ 31.9 น้อยมากในด้านการปฏิบัติตนในการไม่ทิ้งขยะเรี่ยราดในที่สาธารณะ ร้อยละ 39.2 บางครั้งแจ้งปัญหาขยะมูลฝอยให้/อบต.ทราบ ร้อยละ 52.6 บ่อยครั้งด้านการมีส่วนร่วมในการรับข้อมูลข่าวสาร , อบรมเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยของทางราชการ ร้อยละ 21.8 และปฏิบัติเป็นประจำด้านการให้ความสำคัญในการดูแลรักษาบ้านเมืองให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ร้อยละ 19.3 2. การทำแผน การจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนแม่ตีบ ดำเนินการวิจัยโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม(PAR) เป็นวงจรการนำเสนอประกอบด้วยการวางแผนการปฏิบัติและสังเกต และสะท้อนการปฏิบัติรวม 3วงจร โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม การระดมสมอง และกระบวนการวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) ซึ่งปรากฏผลการจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตีบ 3. การประเมิน พบว่าคณะกรรมการชุมชน ประชาชนมีส่วนร่วมได้มีการทบทวนวิสัยทัศน์ แผนงานโครงการ การนำสู่การปฏิบัติโดยส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการนำแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ สมาชิกในที่ประชุมมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ระดมสมองและอภิปราย เพื่อหาข้อสรุปกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ของการบริหารได้แผนงานและโครงการฯ และแนวทางการบริหารจัดการขยะแบบประชาชนมีส่วนร่วม และการทบทวนการทำแผนการบริหารจัดการขยะแบบประชาชนมีส่วนร่วมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตีบ สมาชิกในที่ประชุมได้ทบทวนวิสัยทัศน์ และยอมรับผลการสร้างกลยุทธ์ทางเลือกที่มี วิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ โดยให้กลยุทธ์ทางเลือกอื่นๆ กำหนดเป็นแผนงานและโครงการภายใต้กลยุทธ์ที่เหมาะสมและมีความเกี่ยวข้องกันในการดำเนินงาน มีส่วนร่วมในการนำแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติของการจัดการจัดทำแผนยุทธศาสตร์แนวทางแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติในการบริหารจัดการขยะแบบประชาชนมีส่วนร่วม ควรมีแนวทางทางสู่การปฏิบัติต่อไป
เอกสารงานวิจัย
  1. บทความ
  2. หน้าปก
  3. บทที่ 1
  4. บทที่ 2
  5. บทที่ 3
  6. บทที่ 4
  7. บทที่ 5
  8. บรรณานุกรม

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ