ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การส่งเสริมการจัดการชุมชนเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาหมอกควัน อำเภองาว จังหวัดลำปาง
Promoting of Community Management to Reduce the Effect from Smog Problem, Ngao District, Lampang Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ ดร.โศภิษฐพร ศิลปภิรมย์สุข
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้นจากการเผาในที่โล่งในชุมชนและบริเวณใกล้เคียงแก่ประชาชน 2. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงผลกระทบด้านสุขภาพจากวิกฤตหมอกควันในพื้นที่ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายตัวแทนการจัดการปัญหาหมอกควันในชุมชน 4. เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทราบแนวปฏิบัติที่ถูกต้องในการป้องกันตนเองเพื่อลดความเสี่ยง ด้านสุขภาพในช่วงวิกฤตหมอกควัน
คำสำคัญ
ผลกระทบ, ปัญหาหมอกควัน, การจัดการชุมชน
บทคัดย่อย
งานวิจัยการส่งเสริมการจัดการชุมชนเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาหมอกควัน อำเภองาว จังหวัดลำปางมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ให้ข้อมูลเบื้องต้นจากการเผาในที่โล่งในชุมชนและบริเวณใกล้เคียงแก่ประชาชน 2) ส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงผลกระทบด้านสุขภาพจากวิกฤตหมอกควันในพื้นที่ 3) สร้างเครือข่ายตัวแทนการจัดการปัญหาหมอกควันในชุมชน และ 4) กระตุ้นให้ประชาชนทราบแนวปฏิบัติที่ถูกต้องในการป้องกันตนเองเพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพในช่วงวิกฤตหมอกควัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจถึงสาเหตุและผลกระทบของการเกิดปัญหาหมอกควันอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.19±0.74 ระดับการประสบปัญหาหมอกควันในพื้นที่อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 45.9 โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาหมอกควันในพื้นที่มากที่สุด คือ การเกิดไฟป่า คิดเป็นร้อยละ 64.9 และสาเหตุรองลงมาคือการเผาเศษพืชและเศษวัสดุทางการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 62.2 ซึ่งปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการประสบความสำเร็จของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาหมอกควันในชุมชนเป็นปัจจัยเดียวกันกับปัจจัยที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาหมอกควันในชุมชนประสบความสำเร็จ ได้แก่ ความตระหนักรู้ของคน ความรู้ความเข้าใจของประชาชน และงบประมาณ โดยในแต่ละหมู่บ้านจะมีอาสาสมัครเฝ้าระวังไฟป่าอยู่แล้วเพียงแต่ขาดงบประมาณและสวัสดิการสนับสนุนชุดอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการดับไฟ รวมถึงอุปกรณ์ป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเหมาะสมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหาหมอกควัน ตลอดจนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลออนไลน์หรือแอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือที่รายงานสถานการณ์มลพิษทางอากาศได้ โดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (4.19±0.62 และ 3.62±0.89 ตามลำดับ)
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. กิตติกรรมประกาศ
  3. บทคัดย่อ
  4. สารบัญ
  5. บทที่ 1
  6. บทความ
  7. บทที่ 2
  8. บทที่ 3
  9. บทที่ 5
  10. เอกสารอ้างอิง
  11. ภาคผนวก

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ