ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การขยายพื้นที่การจัดการขยะโดยการสร้างชุมชนต้นแบบ กรณีศึกษาเทศบาลตาบลแม่มอก อาเภอเถิน จังหวัดลาปาง
The extention of results for waste management by modeling community : A Case study of Maemok Municipality , Thoen District, Lampang Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนวิทย์ บุตรอุดม
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1) เพื่อขยายพื้นที่การจัดการขยะโดยการสร้างชุมชนต้นแบบ ให้แก่หมู่ที่ 6 หมู่บ้านแม่มอกใต้ อาเภอเถิน จังหวัดลาปาง 2)เพื่อศึกษาปัจจัยความสาเร็จในการพัฒนาการบริหารจัดการขยะของเทศบาลตาบลแม่มอก อาเภอเถิน จังหวัดลาปาง
คำสำคัญ
-
บทคัดย่อย
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายพื้นที่การจัดการขยะโดยการสร้างชุมชนต้นแบบ ให้แก่หมู่ที่ 6 หมู่บ้านแม่มอกใต้ และเพื่อศึกษาปัจจัยความสาเร็จในการพัฒนาการบริหารจัดการขยะของเทศบาลตาบลแม่มอก อาเภอเถิน จังหวัดลาปาง เป็นการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรหมู่ที่ 6 หมู่บ้านแม่มอกใต้ จานวน 156 ครัวเรือน และผู้ให้ข้อมูลหลัก (key informants) ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะของเทศบาลตาบลแม่มอก และประชาชนในพื้นที่ ด้วยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) การศึกษาพบว่า พื้นที่เป้าหมายในการขยายพื้นที่การจัดการขยะโดยการสร้างชุมชนต้นแบบ กรณีศึกษาเทศบาลตาบลแม่มอก ซึ่งได้แก่ หมู่ที่ 6 บ้านแม่มอกใต้ สามารถพัฒนาการจัดการขยะของพื้นที่ตนเองได้ในทุกประเด็นการจัดการขยะจากผลการประเมินตนเองในการจัดการขยะของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยที่มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ทั้งในรายประเด็นการจัดการขยะ และในภาพรวม นาไปสู่การเป็นชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะได้ ปัจจัยความสาเร็จในการพัฒนาการบริหารจัดการขยะของเทศบาลตาบลแม่มอกผลการวิจัยพบว่าจากการวิเคราะห์โดยใช้สถิติการถดถอยพหุแบบขั้นตอน (Stepwise method) พบว่า โดยนาตัวแปรอิสระทั้งหมด 6 ตัวแปร ได้แก่ ด้านพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ ด้านจิตสานึกในการจัดการขยะ ด้านการเลือกใช้เทคโนโลยีในการจัดการขยะ ด้านระเบียบทางราชการและการบังคับใช้ ด้านภาวะผู้นา และด้านการมีองค์กรผู้รับผิดชอบ ตัวแปรตาม ได้แก่ การพัฒนาการบริหารจัดการขยะมูลฝอย เมื่อนามาวิเคราะห์เพื่อศึกษาตัวแปรอิสระที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการบริหารจัดการขยะโดยใช้ระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่าตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของการพัฒนาการบริหารจัดการขยะ ร้อยละ 57.50 (R2 = .331) ผลจากการวิจัยพบว่ามีตัวแปรอิสระเพียง 2 ปัจจัยเท่านั้นที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยด้านจิตสานึกในการจัดการขยะ และด้านการเลือกใช้เทคโนโลยีในการจัดการขยะ
เอกสารงานวิจัย
  1. รายงาน

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ