ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนาศักยภาพการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วม ในเขตเทศบาลตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
Participatory waste management of potential development in Wiang Sub-District Municipality, Chiang Saen District, Chiang Rai Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์วารินทร์ วงษ์วรรณ
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างจิตสำนึก ปลูกฝังทัศนคติและค่านิยมที่ดีในการลดและคัดแยกขยะให้กับชุมชนในเขตเทศบาลตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อให้เกิดกิจกรรมในการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ ชุมชนเชียงแสนน้อย ซึ่งเป็นต้นแบบในการลดปริมาณขยะและภาระการจัดเก็บขยะของเทศบาลตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 3) เพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดการขยะของเทศบาลตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ
ขยะมูลฝอย, ขยะมูลฝอยชุมชน, การจัดการขยะ
บทคัดย่อย
การพัฒนาศักยภาพการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วม ในเขตเทศบาลตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างจิตสำนึก ปลูกฝังทัศนคติและค่านิยมที่ดีในการลดและคัดแยกขยะและส่งเสริมการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการรวบรวมข้อมูลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลเวียง โดยพบว่าปัญหาและอุปสรรคในการบริหารการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาล คือ ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะ ไม่ให้ความร่วมมือและไม่เข้าร่วมกิจกรรมการคัดแยกขยะ ขาดจิตสำนึกและความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม และผู้นำชุมชนขาดความเข้มแข็งเอาจริงเอาจังในการปฏิบัติงาน และจากการศึกษาสถานการณ์ขยะของชุมชนเชียงแสนน้อยด้วยการเก็บแบบสอบถามเกี่ยวกับ การผลิตและการจัดการขยะของครัวเรือน จำนวน 63 ครัวเรือน พบว่า ขยะในครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นขยะอินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายได้ รองลงมาคือขยะรีไซเคิลและขยะทั่วไป ส่วนสภาพการจัดการขยะมูลฝอยเบื้องต้นนั้น ครัวเรือนทำการรวบรวมขยะเพื่อให้เทศบาลมาจัดเก็บไปกำจัด ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่มีการคัดแยกขยะ ส่วนครัวเรือนที่ทำการคัดแยกขยะจะคัดแยกเพียงขยะรีไซเคิลเพื่อขายให้กับร้านรับซื้อของเก่าเท่านั้น ส่วนการส่งเสริมการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ด้วยการจัดกิจกรรมให้ความรู้ในการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี และการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อกำจัดขยะอินทรีย์ในครัวเรือน ผลของการดำเนินการนอกจากความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะแล้ว ชุมชนยังได้ระดมความคิดเห็นและเสนอแนวทางการจัดการขยะของชุมชน ด้วยการเสนอให้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลขยะของชุมชน เพื่อให้ทราบปริมาณและประเภทของขยะที่เกิดขึ้นจริง จัดตั้งกลุ่มจัดการขยะของชุมชน กลุ่มออมทรัพย์จากขยะรีไซเคิลที่มีโครงสร้างของคณะกรรมการและบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน ในส่วนของการกำจัดขยะอินทรีย์ในครัวเรือนนั้น นอกจากนำเศษผักและผลไม้ไปเลี้ยงไส้เดือนแล้ว ขยะอินทรีย์ประเภทเศษอาหารหรือเศษซากพืชซากสัตว์ ควรต้องส่งเสริมให้ครัวเรือนมีความรู้ในการทำปุ๋ยหมักหรือการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในครัวเรือนเพิ่มเติม ดังนั้น การพัฒนาศักยภาพการจัดการขยะจึงควรให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในระดับชุมชน คือ ตั้งแต่การจัดการขยะในครัวเรือน และเพื่อให้การจัดการขยะมูลฝอยมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจึงควรให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม
เอกสารงานวิจัย
  1. กิตติกรรมประกาศ
  2. บทความ
  3. บทคัดย่อ
  4. บทที่ 1
  5. บทที่ 2
  6. บทที่ 3
  7. บทที่ 4
  8. บทที่ 5
  9. บรรณานุกรม
  10. หน้าปก
  11. สารบัญ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ