ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการปัญหาหมอกควันอย่างยั่งยืน
-

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์สมศักดิ์ ก๋าทอง
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างนวัตกรรมกระบวนการบริหารจัดการปัญหาหมอกควัน
คำสำคัญ
ปัญหาหมอกควัน, การจัดการชุมชน, รูปแบบการแก้ปัญหา
บทคัดย่อย
ปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยเป็นปัญหาเรื้อรังมานานนับ 10 ปี และสถานการณ์มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้นจนถึงขั้นวิกฤตในปีนี้ แม้ว่าจะมีการกำหนดวันห้ามเผา ในที่โล่งทุกชนิดในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบนโดยเด็ดขาด หรือแม้แต่ในชุมชนก็มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับปัญหาหมอกควันเช่นกัน เช่น การประกาศเสียงตามสายในหมู่บ้านโดยผู้นำชุมชน หรือในการประชุมประจำเดือน และจากป้ายประชาสัมพันธ์ที่ติดตามสถานที่สำคัญต่างๆ เพื่อรณรงค์ห้ามเผาป่า ห้ามเผาเศษวัสดุทางการเกษตรทุกชนิดในชุมชน อย่างไรก็ตามก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตหมอกควันได้ ซึ่งอุปสรรคอย่างหนึ่งที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาคือ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพอันเนื่องมาจากการเผาในที่โล่ง จึงยังคงมีการเผาจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง โดยประเมินได้จากข้อมูลจุดความร้อน ดังนั้นการเผยแพร่ความรู้ การประชาสัมพันธ์ และการรณรงค์อย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนและทุกภาคส่วนมีความตระหนักถึงปัญหาและเข้าใจตรงกัน จึงมีความจำเป็นและสำคัญเพื่อเป็นการเร่งแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ นั่นก็คือ “การไม่เผา” อีกทั้งยังต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและจริงจังให้มากขึ้นด้วย การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการปัญหาหมอกควันก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ จากการวิจัยพบว่าปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการประสบความสำเร็จของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาหมอกควันในชุมชนเป็นปัจจัยเดียวกันกับปัจจัยที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาหมอกควันในชุมชนประสบความสำเร็จ ได้แก่ ความตระหนักรู้ของคน ความรู้ความเข้าใจของประชาชน และงบประมาณ โดยในแต่ละหมู่บ้านจะมีอาสาสมัครเฝ้าระวังไฟป่าอยู่แล้วเพียงแต่ขาดงบประมาณและสวัสดิการสนับสนุนชุดอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการดับไฟ รวมถึงอุปกรณ์ป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเหมาะสมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหาหมอกควัน ตลอดจนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลออนไลน์หรือแอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือที่รายงานสถานการณ์มลพิษทางอากาศได้ โดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากหลังจากการเข้าร่วมอบรมในโครงการนี้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากบริบทของแต่ละชุมชนมีความแตกต่างกัน ดังนั้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนจึงไม่เหมือนกัน ส่งผลให้รูปแบบของการแก้ไขปัญหาต่างๆ อาจแตกต่างกันไปด้วย หากคนในชุมชนมีความหลากหลายของชาติพันธุ์ มีความแตกต่างของประเพณี วัฒนธรรม และการดำรงชีวิต สามารถนำแนวคิดของนวัตกรรม “ปฏิทินท้องถิ่น วิถีชาวหนองบัว” ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในชุมชนได้ เพราะจะทำให้การจัดการชุมชนมีระบบที่ดีขึ้นและนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็งต่อไป ซึ่งเป็นกลไกในการรับมือต่อความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของชุมชนและสามารถปรับตัวเพื่อแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ใหม่ๆ ได้
เอกสารงานวิจัย
  1. หน้าปก
  2. กิตติกรรมประกาศ
  3. บทคัดย่อ
  4. สารบัญ
  5. บทนำ
  6. บทที่ 2
  7. บทที่ 3
  8. บทที่ 4
  9. บทที่ 5
  10. เอกสารอ้างอิง
  11. ภาคผนวก

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ