ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การสร้างต้นแบบการคัดแยกขยะมูลฝอยแบบบูรณาการ (บ้าน วัด โรงเรียน) โดยชุมชนมีส่วนร่วมที่สอดคล้องกับบริบทภูมิสังคม ตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง
Integrated (Home, Temple, School) Solid Waste Separations Paradigm Creation by Community Participation Correspond Social Context of Tambon Lomrad, Thoen District, Lampang Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ว่าที่ร้อยตรีพิทูร กาญจนพันธุ์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาต้นแบบและเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะของประชาชนที่สอดคล้องกับบริบทภูมิสังคมในชุมชน 2. เพื่อรณรงค์และสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชน ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมถิ่นเกิด และบูรณาการความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น ให้เป็นไปตามหลักการของเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน
คำสำคัญ
ขยะ, ขยะมูลฝอย, การคัดแยกขยะ, การจัดการขยะ
บทคัดย่อย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างต้นแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะโดยมีการบูรณาการ บ้าน วัด และโรงเรียน เป็นองค์ประกอบ รวมทั้งจัดการความรู้ในการคัดแยกขยะ เป็นไปตามแนวทาง “ประชารัฐ” กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ชุมชนบ้านดอนทราย เทศบาลตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์ สังเกต และเปรียบเทียบปริมาณขยะมูลฝอยก่อนและหลัง จำนวน ๒๕ ครัวเรือน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่าการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการบูรณาการระหว่าง บ้าน วัด และโรงเรียน ส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยภายในชุมชนลดลงมากกว่าร้อยละ ๕๐ จากเดิม และยังให้ผลพลอยได้อื่น เช่น การแยกขยะอินทรีย์ไปทำเป็นปุ๋ยหมัก และการคัดแยกขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยการขายเป็นรายได้ และรายได้ส่วนนั้นกลับมาช่วยชุมชนในเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ ดังนั้น หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ให้กับชุมชนอื่น ๆ โดยนำเอากระบวนการนี้ไปปรับใช้ในแต่ละชุมชนต่อไป
เอกสารงานวิจัย
  1. บทความ
  2. หน้าปก
  3. รายงาน

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ