ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การส่งเสริมการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งชมพู อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
area of Tungchomphu Sub-district, Phuwiang District, Khon Kaen Province using data of heavy metal accumulated in crops and soils in the area for the goal of realizing pitfalls of agrochemical use.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ดร.ชุตินันท์ เจริญชัย
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อศึกษาปริมาณโลหะหนักในดินปลูกพืชผักกินได้ และดินปลูกอ้อย บริเวณตำบลทุ่งชมพู อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น 1.2.2 เพื่อศึกษาปริมาณโลหะหนักในพืชผักกินได้ บริเวณตำบลทุ่งชมพู อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น 1.2.3 เพื่อศึกษาปริมาณโลหะหนักในน้ำอ้อย บริเวณตำบลทุ่งชมพู อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ
โลหะหนัก,การสะสม,พืชผลทางการเกษตร,ดิน
บทคัดย่อย
การวิจัยนี้ได้ส่งเสริมการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรแก่เกษตรกรในพื้นที่ของเกษตรกรตำบลทุ่งชมพู อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยอาศัยข้อมูลโลหะหนักที่สะสมในพืชผลทางการเกษตรและดิน เพื่อให้เกษตรกรตระหนักถึงอันตรายจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร โดยทำการศึกษาในระหว่างเดือนกันยายน 2560 - กันยายน 2562 ทำการเก็บตัวอย่างพืชผักจำนวน 7 ชนิด (ได้แก่ พริก มะเขือ ตะไคร้ มะละกอ มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว และบวบ) อ้อย และดินปลูกในเดือนตุลาคม 2561 แล้วนำมาวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณโลหะหนักตกค้างในห้องปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดยใช้เทคนิค ICP-OES ผลการศึกษาพบว่า มีการตรวจพบโลหะหนักเกินค่ามาตรฐานในพืชผักทุกชนิดและในอ้อยซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของเกษตรกรในทั้ง 6 หมู่บ้าน ที่ทำการเก็บตัวอย่าง โดยในพืชผัก โลหะหนักที่ตรวจพบเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด คือ สารหนู สังกะสี โครเมียม และทองแดง สำหรับในอ้อย โลหะหนักที่ตรวจพบเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด คือ สารหนู สังกะสี ตะกั่ว แคดเมียม โครเมียม เหล็ก แมงกานีส และซิลิเนียม ในขณะที่ทองแดง มีความเสี่ยงต่อการตรวจพบเกินค่ามาตรฐานในอ้อย ส่วนนิกเกิลตรวจไม่พบในอ้อย สำหรับในดินบริเวณที่ปลูกพืชผัก ตรวจพบโลหะหนักที่เกินค่ามาตรฐานจำนวน 4 ชนิด ได้แก่ สารหนู สังกะสี ทองแดง และแมงกานีส ในขณะที่ในดินบริเวณที่ปลูกอ้อยพบโลหะหนักที่เกินค่ามาตรฐานจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ สารหนู ทองแดง และแมงกานีส การที่พบโลหะหนักเกินค่ามาตรฐานทั้งในพืชและดินที่ปลูกในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงการใช้สารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลทุ่งชมพูในปริมาณที่มาก ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพของทั้งเกษตรกรผู้ใช้สารเคมีและผู้บริโภคผลิตผลทางการเกษตรเหล่านั้นในอนาคต ในเวทีการรายงานผลการศึกษาแก่ชุมชนในพื้นที่ตำบลทุ่งชมพู ได้สรุปแนวทางในการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร เช่น การใช้สารเคมีในปริมาณที่แนะนำในฉลากไม่ใช้ในปริมาณที่มากเกินกว่าที่ระบุในฉลาก การปลูกพืชแบบผสมผสาน และการใช้ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น
เอกสารงานวิจัย
  1. บทที่1
  2. บทที่2
  3. บทที่3
  4. บทที่4
  5. บทที่5
  6. บรรณานุกรม
  7. สารบัญ
  8. สารบัญตาราง
  9. ปก

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ