ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง รูปแบบการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือนโดยกรวยสีเขียว (Green Cone) ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
management by using the green cone of Na San Sub-district Administrative Office of Muang District, BeungKan Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์กานดา ปุ่มสิน
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจของประชาชนในการจัดการขยะอินทรีย์ และการศึกษารูปแบบการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือนโดยกรวยสีเขียว (Green Cone) ขององค์การบริการส่วนตำบลนาสวรรค์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ในหมู่ 2 ชุมชนบ้านคำแคน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์และชุดการทดลองกรวยสีเขียว (Green Cone) สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 60 อายุระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 60 จบการศึกษามัธยมตอนปลาย ร้อยละ 36.7 อาชีพเกษตรกร ร้อยละ 56.7 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระหว่าง 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 50 ด้านพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนพบว่าแหล่งกำเนิดขยะส่วนใหญ่มาจากร้านค้า/ร้านอาหาร ร้อยละ 46.7 มีการคัดแยกขยะรีไซเคิลแล้วนำไปขาย ร้อยละ 50 หน่วยงานขององค์การบริหารส่วนตำบลจะมารับขยะไปกำจัด ร้อยละ 60 และในหนึ่งคน/วัน จะสร้างขยะ 1-2 กิโลกรัม ร้อยละ 50 ด้านความรู้ความเข้าใจของประชานชนในเรื่องการจัดการขยะอินทรีย์ส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับการจัดการขยะอินทรีย์อยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 40 ได้รับความรู้จากผู้นำชุมชน ร้อยละ 50 มีความรู้ในเรื่องของขยะมูลฝอยแบ่งได้ 4 ประเภท ประกอบด้วย ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไปขยะอันตราย (ขยะอันตรายแบ่งได้อีก 2 ประเภท คือ ขยะมีพิษ และ ขยะติดเชื้อ) และวิธีการในการกำจัดขยะมีหลายวิธี เช่น การเผา การฝังกลบ เผาเพื่อพลังงาน และการคัดแยก หมายถึง การคัดแยกขยะมูลฝอยประเภทต่างๆ และเก็บรวบรวมมูลฝอยอย่างเป็นระบบ ร้อยละ 66.7 จากแบบสัมภาษณ์ในการทดลองรูปแบบการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน โดยกรวยสีเขียว (Green Cone) พบว่าเหตุผลที่ไม่คัดแยกขยะอินทรีย์ก่อนทิ้งเพราะยังไม่ให้ความสำคัญในการคัดแยกประเภทของขยะอินทรีย์ และยังไม่ตะหนักถึงผลกระทบของหน่วยงานที่รับผิดชอบข้อดีของกรวยสีเขียว (Green Cone) ต่อการจัดการขยะอินทรีย์คือ การติดตั้งและกระบวนการไม่ซับซ้อน, ช่วยลดขยะอินทรีย์ในครัวเรือนและไม่ส่งกลิ่นเหม็น และไม่ส่งผลกระทบต่อทางหน่วยงานที่รับผิดชอบและ ข้อเสียคือ ลักษณะของหมู่บ้านและรวมถึงลักษณะของพื้นที่ไม่สะดวกต่อการติดตั้ง,ส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญเกี่ยวการจัดการขยะอินทรีย์ และมีหน่วยงานรับผิดชอบอยู่แล้วจึงไม่ตะหนักถึงผลกระทบ และคิดว่า องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและ ชุมชน ควรมีการส่งเสริม/สนับสนุนด้านการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือนโดยอยากให้มีสร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชนในการจัดการขยะอินทรีย์ และอยากให้มีงบประมานในการต่อยอดโครงการการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือนต่อไป
คำสำคัญ
การจัดการ , ขยะอินทรีย์, กรวยสีเขียว
บทคัดย่อย
1.2.1 เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน โดยใช้กรวยสีเขียว (Green Cone) ในพื้นที่ชุมชนบ้านคำแคน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ 1.2.2 เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน โดยใช้กรวยสีเขียว (Green Cone) ในพื้นที่ชุมชนบ้านคำแคน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
เอกสารงานวิจัย
  1. บทที่1
  2. บทคัดย่อ
  3. กิตติกรรมประกาศ
  4. บทที่ 2
  5. บทที่3
  6. บทที่4
  7. บทที่5
  8. บรรณานุกรม
  9. ภาคผนวก ก
  10. ภาคผนวก ข
  11. สารบัญ
  12. สารบัญตาราง
  13. สารบัญภาพ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ