ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง รูปแบบการลดการใช้สารเคมีในนาข้าวในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงมะไฟ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
including the behavior of agricultural chemicals and guidelines and promoting the reduction of agricultural chemicals in rice fields. In the area of Dong Mafai Subdistrict Administration Organization Mueang Sakon Nakhon District, Sakon Nakhon Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ ประยูร ประเทศ
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อศึกษาข้อมูลด้านการทำเกษตรกรรมรวมถึงพฤติกรรมการใช้สารเคมีทางการเกษตรในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงมะไฟ อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนคร 1.2.2 เพื่อศึกษาแนวทางและส่งเสริมการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรในแปลงข้าว ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงมะไฟ อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนคร
คำสำคัญ
สารเคมี,โลหะหนัก,การปนเปื้อน
บทคัดย่อย
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลด้านการทำเกษตรกรรมรวมถึงพฤติกรรมการใช้สารเคมีทางการเกษตร และแนวทางและส่งเสริมการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรในแปลงข้าวในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงมะไฟ อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนคร ทำการศึกษาด้วยวิธีการ ลงพื้นที่พบว่าสารเคมีที่ใช้เป็นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้แก่ วัชพืช โรคและแมลง ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนในอาหาร ดิน และน้ำ โดยเฉพาะโละหนักที่เป็นอันตรายต่อคนในชุมชน ดั้งนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวทางในการศึกษา โดยเก็บตัวอย่างข้าว ดิน และน้ำ ในพื้นที่ตำบลดงมะไฟ อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนคร เพื่อนำมาวิเคราะห์หาโลหะหนัก และแนะนำให้เกษตรกรตระหนักถึงอันตรายดังกล่าว ผลการวิเคราะห์ พบว่า 1) ตัวอย่างข้าวมีปริมาณของสารหนู และปริมาณสังกะสี เกินค่ามาตรฐาน ส่วนปริมาณทองแดงไม่เกินค่ามาตรฐานแต่มีพื้นที่เสี่ยง หากมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น และในตัวอย่างข้าวไม่พบปริมาณ ตะกั่ว แคดเมียม และโครเมียม 2) ตัวอย่างดินพบปริมาณเหล็กสูงเกินค่ามาตรฐาน ปริมาณสารหนู และปริมาณโครเมียม เกินค่ามาตรฐานเพียงบางจุด ส่วน ปริมาณนิกเกล แมงกานี ตะกั่ว และทองแดง ไม่กินค่ามาตรฐาน แต่ไม่พบปริมาณ แคดเมียม และซีลีเนียม 3) ตัวอย่างน้ำพบปริมาณแมงกานีส ตะกั่ว และเหล็กเกินมาตรฐาน ปริมาณทองแดง เกินค่ามาตรฐานเพียงบางจุด ส่วนปริมาณนิกเกล โครเมียม และสังกะสี ไม่เกินค่ามาตรฐาน แต่ไม่พบปริมาณ แคดเมียม ซีลีเนียม และสารหนู จะเห็นได้ว่าการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีการตกค้างในอาหาร ดินและแหล่งน้ำ และยังมีผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรทั้งพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง ทั้งนี้สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการใช้สารเคมีในปริมาณมากเกินความจำเป็นและมีวิธีปฏิบัติในการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นเจ้าหน้าที่เกษตรผู้เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน และชุมชน ต้องร่วมมือกันส่งเสริมให้ความรู้ที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
เอกสารงานวิจัย
  1. กิติกรรมประกาศ
  2. บทคัดย่อ
  3. บทที่1
  4. บทที่2
  5. บทที่3
  6. บทที่4
  7. บทที่5
  8. บรรณานุกรม
  9. ภาคผนวก ก
  10. ภาคผนวก ข

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ