ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การประเมินการปนเปื้อนโลหะหนักในพื้นที่ผลิตอ้อยในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล กุดสะเทียน อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
heavy metal content in soil and sugarcane, In Kut Satian Subdistrict Administration Organization area Si Bun Rueang District Nong Bua Lamphu Province, and in order to realize of farmer on the dangers of pesticides. Analysis of heavy metals in soil and sugarcane

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์นฤมล โสตะ
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักในหาปริมาณโลหะหนักในดิน และอ้อย บริเวณพื้นที่ องค์การบริหารส่วนต าบลกุดสะเทียน อ าเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวล าภู และให้เกษตรกร ตระหนักถึงอันตรายจากสารเคมีก าจัดศัตรูพืช
คำสำคัญ
โลหะหนัก ,การปนเปื้อน ,ดิน, อ้อย
บทคัดย่อย
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักในดิน และอ้อย บริเวณพื้นที่ องค์การบริหารส่วนต าบลกุดสะเทียน อ าเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวล าภู และให้เกษตรกรตระหนักถึง อันตรายจากสารเคมีก าจัดศัตรูพืช วิเคราะห์โลหะหนักในดินและอ้อย ได้แก่ สารหนู (As) เหล็ก (Fe) โครเมียม (Cr) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) ตะกั่ว (Pb) แคดเมียม (Cd) แมงกานีส (Mn) ซีลีเนียม (Se) และนิกเกิล (Ni) เก็บตัวอย่างดิน จ านวน 11 จุด และตัวอย่างอ้อย 10 จุด จุดละ 3 ตัวอย่าง และเปรียบเทียบ กับตามค่ามาตรฐานมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) และฉบับที่ 273 (พ.ศ.2546) และมาตรฐานคุณภาพดินตามกรมควบคุมมลพิษ พบปริมาณโลหะหนัก ในดินดังนี้ สารหนูอยู่ในช่วง (ไม่พบ-68.927 mg/kg) เหล็กอยู่ในช่วง (ไม่พบ-109,965.915 mg/kg) โครเมียม อยู่ในช่วง (21.470-160.833 mg/kg) ทองแดง อยู่ในช่วง (ไม่พบ-109.923 mg/kg) สังกะสี อยู่ในช่วง (ไม่พบ109.917 mg/kg) ตะกั่วอยู่ในช่วง (ไม่พบ-52.500 mg/kg) แมงกานีส อยู่ในช่วง (449.600- 2,057.667 mg/kg) และนิกเกิล (ไม่พบ-35.740 mg/kg) ทุกจุดเก็บตัวอย่างไม่พบปริมาณแคดเมียม และซีลีเนียม ทุกจุด เก็บตัวอย่างมีปริมาณทองแดง สังกะสี ตะกั่ว และนิกเกิลไม่เกินมาตรฐาน จากการวิเคราะห์โลหะหนักในอ้อย เมื่อพิจารณาโลหะหนักในอ้อย ได้แก่ สารหนู เหล็ก สังกะสี ตะกั่ว แมงกานีส และ ซีลีเนียม ทุกจุดเก็บตัวอย่าง มีค่าเกินมาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ทุกจุดเก็บตัวอย่างไม่พบ นิกเกิล
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทที่1
  3. บทที่2
  4. บทที่3
  5. บทที่4
  6. บทที่5
  7. บรรณานุกรม
  8. บทคัดย่อ
  9. กิตติกรรมประกาศ
  10. สารบัญ
  11. ภาคผนวก ก
  12. ภาคผนวก ข

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ