ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชน เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว : กรณีศึกษา ชุมชนตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล
Participation in community’s environmental management for development: a case study of Nam Phut community, Langu district, Satun province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ดร.วริศรา สมเกียรติกุล
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและบริบททางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล 2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชน เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล 4) เพื่อเสนอแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล
คำสำคัญ
การจัดการสิ่งแวดล้อม,การมีส่วนร่วมของชุมชน,ความผูกพันธ์ต่อชุมชน,ปัจจัยสภาพแวดล้อม
บทคัดย่อย
จากกระแสการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการท่องเที่ยวโดยให้ชุมชนเขามามีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยว ทั้งการกำหนดทิศทาง การบริหารจัดการ และการดูแลรักษาทรัพยากรของชุมชนโดยเฉพาะทรัพยากร ทางธรรมชาติทรัพยากรทางวัฒนธรรมและภูมิปDญญาท่องถิ่นที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่และอัตลักษณะ ที่ทรงคุณค่าของชุมชน การท่องเที่ยวในลักษณะดังกล่าวนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และ ถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนและยกระดับเศรษฐกิจของชุมชนได้เป็นอย่างดีการศึกษาการมีส่วน ร่วมในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของชุนเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษาชุมชนตำบลน้ำผุด อำเภอ ละงู จังหวัดสตูลในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปและบริบททางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม ของชุมชน 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชน และ4) เสนอแนวทางใน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนงานวิจัยนี้มีรูปแบบผสมระหว่างงานวิจัย เชิงปริมาณและงานวิจัยเชิงคุณภาพ ทั้งนี้เพื่อให้ผลการวิจัยมีความน่าเชื่อถือและสามารถตอบโจทย8การวิจัยได้ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณจะใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไป ระดับการมี ส่วนร่วม ปัจจัยสภาพแวดล้อม ความผูกพันต่อชุมชน และการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชน โดยใช้สูตรของ Taro Yamane ในการคำนวณกลุ่มตัวอย่างของประชากรทั้ง 11 หมู่บ้าน จำนวน 7,183 ราย ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 379 รายและใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Random Sampling) เพื่อเลือกกลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพจะใช้แบบสัมภาษณะกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure Interview Form) เพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึกในประเด็นความรู้สึก ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยใช้การ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงาน ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคนในชุมชน จำนวน 36 รายโดยข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณะจะถูกนำมา ประกอบการอธิบายผลการวิเคราะห์มูลเชิงปริมาณจากเครื่องมือทางสถิติ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ f-test และ Multiple Regression ตามลำดับ ผลการวิจัยพบวา 1. สภาพทั่วไปและบริบททางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ตำบลน้ำผุดทั้งตำบลเดิมเป็นหมู่ที่ 3 ของตำบลเขาขาว โดยได้แยกตำบลออกมาเป็นตำบลน้ำผุด เมื่อปี 18 ที่มาของชื่อตำบลน้ำผุดเนื่องจากพื้นที่ในหมู่ที่ 1 บ้านทุ่งไหม้ บริเวณหลังกุโบ (ที่ฝังศพ) จะมีน้ำผุด ขึ้นมาจากใต้ดินตลอดเวลาไม่ว่าสภาพอากาศจะแห้งแล้งขนาดไหนก็ตาม จึงใช้น้ำผุดที่ตั้งเป็นชื่อตำบล โดย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดสตูล ระยะทางห่างจากอำเภอละงู ประมาณ 25 กิโลเมตร และ ระยะทางห่างจากจังหวัดสตูล ประมาณ 75 กิโลเมตร พื้นที่โดยทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด ประกอบด้วยภูเขา ป่าไม้และที่ราบ สภาพพื้นที่ลักษณะเป็นลูกคลื่นและที่ราบเชิงภูเขาเล็กน้อย โดยมีเทือกเขาสูงอยู่ทางทิศตะวันตกและทิศเหนือ ได้แก่เทือกเขาบรรทัด บริเวณเชิงเขามีการทำสวนยาง สวนผลไม้ ส่วนบริเวณที่ราบมีการทำนา และเลี้ยงสัตว์ บ้างเล็กน้อยประชากรทั้งหมดจำนวน 7,183 คน แบ่งเป็น 11 หมู่บ้าน มีสถาบันและองค์กรทางศาสนา (วัด สำนักสงฆ8 และมัสยิด) จำนวน 12 แหง และโรงเรียน จำนวน 5 แหง ประชากรโดยประมาณ 95% ประกอบอาชีพทางการเกษตร ได้แก่ ทำสวนยางพารา สวน ผลไม้ สวนปาล์มน้ำมัน เลี้ยงสัตว์ และทำนาเพื่อการบริโภคในครัวเรือน ส่วนอีกประมาณ 5% ประกอบอาชีพ เป็นข้าราชการ ค้าขาย รับจ้างและอื่นๆ ประชากรมีรายได้เฉลี่ย 23,182 บาทต่อปี ตำบลน้ำผุดมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามมากมาย เช่น วังสาหว้า น้ำตกวังสายธาร น้ำตกวังสายน้อย ถ้ำเจ็ดคด ล่องแก่ง ภูเขาเป็นน้ำ และน้ำตกวังสายทอง เป็นต้น 2. การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนตำบล น้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏว่ามีค่าเฉลี่ย ในระดับปานกลางทุกด้าน ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ รองลงมาคือ การมีส่วนร่วมในการค้นหา ประเด็นปัญหาร่วมกัน การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานร่วมกัน และการมีส่วนร่วมในการวางแผนร่วมกัน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 3. การเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมในการจัดการ สิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล พบว่า ปัจจัยด้านเพศ และอาชีพส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสิถิติที่ระดับ .05 4. ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาเป็น แหล่งท่องเที่ยวของชุมชนตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล พบว่า มีทั้งหมด 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยทางด้าน วัฒนธรรม และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาเป็น แหล่งท่องเที่ยวในเรื่องของการค้นหาประเด็นปัญหาร่วมกัน การปฏิบัติงานร่วมกัน การวางแผนร่วมกัน การ ตัดสินใจ การติดตามประเมินผลและการรับผลประโยชน์ร่วมกัน 5. ความผูกพันของชุมชนที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาเป็น แหล่งท่องเที่ยวของชุมชนตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล พบว่า ความผูกพันของชุมชนในประเด็นการ ค้นหาประเด็นปัญหาร่วมกันการวางแผนร่วมกัน การปฏิบัติงานร่วมกัน การตัดสินใจ การติดตามประเมินผล และการรับผลประโยชน์ร่วมกันมีทั้งหมด 2 ด้าน คือ ด้านความเชื่อมั่นและยอมรับเปnาหมายรวมถึงค่านิยมของ ชุมชน และด้านความเต็มใจและใช้ความพยายามเต็มที่ในการปฏิบัติงานของชุมชนคนในชุมชนควรมีการปรับตัวโดยจะต้องมีความเชื่อมั่นและยอมรับเปnาหมายรวมหรือค่านิยมของชุมชน โดยการมีส่วนร่วมตลอด กระบวนการของการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างเต็มที่ เพื่อสร้างรายได้ ความเข้มแข็งแก่ชุมชน ปกปnองรักษาธรรมชาติและวัฒนธรรมของชุมชนให้คงอยู่สืบไป
เอกสารงานวิจัย
  1. การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชน เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว : กรณีศึกษา ชุมชนตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ