ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ “ผลการออกกำลังกายด้วยน้ำหนักตัวและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ”
Effects of Body weight training and stretching with physical fitness in the elderly

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ อาทิตย์ ปัญญาคา
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
ศึกษาการออกกำลังกายด้วยน้ำหนักตัวและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ
คำสำคัญ
-
บทคัดย่อย
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการออกกำลังกายด้วยน้ำหนักตัวและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ ประชากร คือ ผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลาน ที่มีอายุระหว่าง 60-79 ปี ในเขตพื้นที่ จำนวน 80 คน ทำการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ประกอบด้วย สัดส่วนร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความอ่อนตัว และทดสอบความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนโลหิต แล้วทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย จำนวน 80 คน โดยกลุ่มตัวอย่างทำการออกกำลังกายแรงกระแทกต่ำ ทำการฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ของสมรรถภาพทางกาย ทำการเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองโดยใช้ Paired – Sample T Test ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าก่อนการเข้าร่วมโครงการและภายหลังการเข้าร่วมโครงการ 12 สัปดาห์ สมรรถภาพทางกาย ด้าน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัวแบบนั่ง สัดส่วนมวลกาย รอบเอวและ.การทดสอบยืนยกเข่าขึ้น – ลง 2 นาที พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่าผลการออกกำลังกายด้วยแรงกระแทกต่ำส่งผลต่อสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ การออกกำลังกายด้วยน้ำหนักตัวและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อจึงเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ
เอกสารงานวิจัย
  1. รูปเล่ม
  2. วิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ